6 วิธีดูแลจิตใจ ผู้ป่วยมะเร็ง

6 วิธีดูแลจิตใจ ในผู้ป่วยมะเร็ง

การป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัวที่จะกลับมาเป็นซ้ำ

หากผู้ป่วยเครียดเรื้อรังยาวนาน อาจทำให้ผู้ป่วยหันไปทำพฤติกรรมที่ไม่ควรทำขณะกำลังรักษา

แต่ปัญหาเหล่านี้ รับมือได้

ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘มะเร็ง’ คงไม่มีใครแฮปปี้ แต่มีวิธีรับมือได้ 😊
.
การป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัวที่จะกลับมาเป็นซ้ำ (Kaewrat et al., 2560) หากผู้ป่วยเครียดเรื้อรังยาวนาน อาจทำให้ผู้ป่วยหันไปทำพฤติกรรมที่ไม่ควรทำขณะกำลังรักษา เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานปิ้งย่างเนื้อไหม้เกรียมเพื่อย้อมใจ ฯลฯ หรือหากเครียดมากๆ รู้สึกท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ให้ความร่วมมือกับการรักษา ไม่รับประทานยา หรือมาฉายแสงตามที่แพทย์กำหนด ส่งผลให้การรักษาอาจช้าลง หรือดำเนินไปในทิศทางที่ไม่ควรจะเป็น (กฤตชญา ฤทธิ์ฤาชัย, 2559)

แต่ปัญหาเหล่านี้ รับมือได้นะ

ลำไส้ศาสตร์ จึงขอมาแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจในผู้ป่วยมะเร็งกันค่ะ

💙 สำหรับตัวผู้ป่วย 💙

  1. ทำกิจกรรมที่ชอบ
    เช่น ทำอาหาร วาดรูป ถักผ้าพันคอ ดูซีรีส์เกาหลี เลี้ยงหลาน ฯลฯ เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แถมยังช่วยดึงความสนใจของเราไม่ให้จดจ่ออยู่แต่กับอาการป่วยมากเกินไปอีกด้วย
  2. ฝึกลมหายใจ
    อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ในการผ่อนคลายร่างกาย สามารถทำได้โดยนำมือจับท้องหรือหน้าอก แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ อย่างช้าๆ เท่าที่สามารถทำได้ เมื่อหายใจเข้าแล้วท้องป่อง หายใจออกท้องแบน หายใจโดยที่รู้สึกสบาย ไม่ต้องเคร่งเครียดกับการหายใจ ไม่ต้องเร่ง หายใจอย่างผ่อนคลาย 😂
  3. ออกกำลังกาย
    นอกจากจะได้สุขภาพกายที่แข็งแรงเพราะเลือดลมสูบฉีดแล้ว สุขภาพใจก็แฮปปี้ขึ้นด้วย เนื่องจากขณะออกกำลังร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา จึงแนะนำว่าควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อผลลัพธ์ปังๆ ถึงสองต่อ
  4. รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น & มองโลกให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
    ไม่หลอกตัวเองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับความจริง ส่งผลให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ ของตนเอง และสามารถรับมือกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง หากรู้สึกกลัวก็คือกลัว เสียใจก็คือเสียใจ ขอแค่ยอมรับมัน โดยอาจจะใช้วิธีเขียนไดอารี่ร่วมด้วยก็ได้ เพื่อสังเกตสภาพความคิดจิตใจ และทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต
  5. พูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจ
    นอกจากจะได้ระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจแล้ว ก็อาจได้คำแนะนำดีๆ มาปรับใช้กับชีวิตเรา แถมยังทำให้ไม่รู้สึกเหงาอีกด้วย
  6. เข้าพบนักจิตวิทยา
    หากรู้สึกว่าความเครียดนั้นอยู่ในระดับที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง หยุดงาน หยุดเรียน ไม่อยากทำอะไร จนไม่ให้ความร่วมมือกับการรักษา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อบ่งชี้ว่าควรเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้อาการมะเร็งทรุดลง อนึ่ง การพบนักจิตวิทยาไม่ใช่เรื่องน่าอาย ดังนั้นอย่ากังวลใจไปเลยนะ

💙 สำหรับคนรอบข้างของผู้ป่วย 💙

‘รับฟังอย่างตั้งใจ’
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องพูดอะไรออกไปก็ได้ ขอแค่รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยระบายออกมาอย่างตั้งใจโดยไม่ตัดสิน หากผู้ป่วยได้รับรู้ว่ายังมีคนรอบข้างที่เข้าอกเข้าใจเขาอยู่นะ ก็จะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น ได้รับรู้ว่ามีคนที่เข้าใจเขาอยู่บ้างนะ

คีย์สำคัญคือการ ‘รับฟังอย่างตั้งใจ’ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องพูดอะไรออกไปก็ได้ ขอแค่รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยระบายออกมาอย่างตั้งใจโดยไม่ตัดสิน อาจจะมีการสัมผัสตัวกันเล็กน้อยร่วมด้วย หากผู้ป่วยได้รับรู้ว่ายังมีคนรอบข้างที่เข้าอกเข้าใจเขาอยู่นะ ก็จะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น ไม่โดดเดี่ยวเหมือนอยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ หรือพาผู้ป่วยเข้าพบนักจิตวิทยา หากสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีความเครียดในระดับที่มากเกิดไป
.
ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจเป็นสิ่งที่พบเจอได้เป็นประจำในผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งถ้าหากรู้จักวิธีดูแลและรับมืออย่างมีประสิทธิภาพก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการรักษาโรคอย่างแน่นอน 💞

แหล่งอ้างอิง

เพจ ลำไส้ศาสตร์

Journal of The Police Nurses

รายการคนสู้โรค

Centers for Disease Control and Prevention

MGR Online

-+=