#ไสหัวไปนายส่วนเกิน Challenge
TikTok ร่วมกับ
ภาพยนตร์ ไสหัวไป นายส่วนเกิน
ชวนคุณและคนที่แคร์มาร่วมชาเลนจ์
กับท่าเต้นสุดสนุก ที่จะทำให้คุณได้เช็คร่างกาย พร้อมรับมือโรคร้ายไปพร้อมกัน !
ลุ้นกระทบไหล่นักแสดง และ
ชมภาพยนตร์ก่อนใคร 16 พฤศจิกายนนี้
TikTok ร่วมกับภาพยนตร์ ไสหัวไป นายส่วนเกิน
ชวนคุณและคนที่แคร์มาร่วมชาเลนจ์ กับท่าเต้นสุดสนุก
ที่จะทำให้คุณได้เช็คร่างกาย พร้อมรับมือโรคร้ายไปพร้อมกัน !
ลุ้นกระทบไหล่นักแสดง และ
ชมภาพยนตร์ก่อนใคร 16 พฤศจิกายนนี้
เพียง Duet เต้นกับเหล่านักแสดง
ที่คุณชื่นชอบ พร้อมติดแฮชแท็ก
#ไสหัวไปนายส่วนเกิน
และ #ไสหัวไปChallenge
เพียง Duet เต้นกับเหล่านักแสดงที่คุณชื่นชอบ
พร้อมติดแฮชแท็ก #ไสหัวไปนายส่วนเกิน และ #ไสหัวไปChallenge
เช็คต่อมน้ำเหลืองด้วยตัวเองง่ายๆ
ตรวจเจอ ‘ตุ่มส่วนเกิน’ ไว
รักษาหายขาดถึง 80%
. . แค่ 60 วิต่อเดือน
ก็ห่างไกลมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
ตรวจเจอ ‘ตุ่มส่วนเกิน’ ไว รักษาหายขาดถึง 80%
แค่ 60 วิต่อเดือน ก็ห่างไกลมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
เช็คต่อมน้ำเหลืองง่ายๆ 9 จุดตรวจ
กับ #ไสหัวไปตุ่มส่วนเกิน
รู้จัก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
What is Lymphoma ?
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือ เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันประกอบไปด้วยอวัยวะน้ำเหลือง อันได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล ต่อมไทมัส
น้ำเหลืองมีหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาว (Lymphocyte) ไปทั่วร่างกาย ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้น
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
Lymphoma
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน และมีอาการเหมือนป่วยทั่วไป แต่อาจสังเกตได้จากก้อนแข็งตามร่างกาย
สังเกตอาการ
หากพบตุ่มโตเกิน 1 cm เกิน 1 สัปดาห์แล้วยังไม่ยุบ ไม่เจ็บ พร้อมมีอาการร่วมเช่น มีไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ควรรีบไปพบแพทย์
จุดสังเกต เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ ที่เกิดพร้อมกันหลายจุด ไม่เจ็บ ร่วมกับมีไข้ ไอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง เหงื่อออกมากผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยง / สาเหตุ
มีทั้งสารเคมี ศัลยกรรม ภูมิต้านทานพร่อง และติดเชื้อแบคทีเรีย
ป้องกันได้อย่างไร
ตรวจสุขภาพทุกปี นอนหลับพักผ่อน อาหารดี ออกกำลังกาย เลี่ยงสารเคมี ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
มารู้จักมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกัน
คืออะไร แบ่งชนิดอย่างไร ระยะโรค และแนวทางการรักษา มีทั้งภาพและคลิปจากคุณหมอ
เสริมความรู้จากคุณหมอ
Lymphoma Library
Lymphoma War : ตื๊อไม่หยุด
ปฏิบัติการณ์ปราบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตัวร้าย “Lymphoma War : ตื๊อไม่หยุด” ได้เริ่มขึ้นแล้ว!!
รู้จักมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร? มีกี่ชนิดและมีวิธีการรักษาแบบไหนได้บ้าง? และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกับมะเร็งที่ลามไปต่อมน้ำเหลืองต่างกันอย่างไร?
ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด และอาการข้างเคียงจากการรักษา
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและอาการข้างเคียงจากการรักษา
ในช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด รับประทานเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ออกกำลังกาย ได้หรือไม่?
ในช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ได้หรือไม่?? แล้วออกกำลังกายได้มากน้อยแค่ไหน??
ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ได้รับยาเคมีบำบัด
เข้าใจเพิ่มเติม
Understand more
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง MCL
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว CLL
โรคที่อาจมีการแสดงออกของโรคเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
รู้จัก รับมือ รักษา มะเร็ง CCL
เรื่องราวจากผู้ป่วย
Patient Story
เรื่องจริงประสบการณ์ตรง จากการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ของคุณธวัลรัตน์ จุนเจือ
กำลังใจจากครอบครัว คือสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้..
เรื่องจริงประสบการณ์ตรง จากการต่อสู้ และรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ของคุณธวัลรัตน์ จุนเจือ ที่จะมาบอกเล่าให้ฟังกันค่ะ
ข้อความฝากถึงผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โชคดีในความโชคร้าย
คนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง อย่าเพิ่งท้อแท้ เพราะด้วยการแพทย์ในปัจจุบันยังสามารถรักษาได้
การเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ถือว่ามีความโชคดีในโชคร้าย เพราะมียาที่สามารถให้ผลการรักษาที่ดีอยู่มากมาย มีโอกาสหายขาดได้สูง จึงขอให้มีกำลังใจในการรักษา
รศ.พอ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล
ดูแลจิตใจตัวเองให้ดี
การดูแลร่างกายเป็นหน้าที่ของคุณหมอ ส่วนจิตใจในการดูแลต่อสู้กับโรคนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำเอง เมื่อประกอบกันสองด้านแล้วก็จะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
รศ.พอ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล
มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
เป้าหมายและแนวทางในการรักษาเป็นสิ่งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแลสามารถพูดคุยเพื่อตั้งร่วมกันได้ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
คุณเบลล์ ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์
ดูแลตัวเองอย่างมีวินัย
เมื่อมีวินัยในการดูแลตัวเอง ผลการรักษาก็จะดีขึ้น และกลับมาเสริมเป็นกำลังใจให้กับตัวเราต่อไป
คุณสรรเสริญ คุณวัฒน์
กำลังใจแผ่หากันได้
กำลังใจของตัวเราและคนรอบข้างส่งผลถึงกันและกัน
นอกจากการได้รับกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้างจะช่วยผู้ป่วยแล้ว การที่ผู้ป่วยดูแลตัวเองดี มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น ก็จะช่วยให้คนรอบข้างมีกำลังใจที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
คุณรพีพร อึ้งอภินันท์
ผ่อนคลาย ตั้งสติ
ดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด แม้เป็นมะเร็ง แต่ก็ตั้งหลักยอมรับความเป็นจริง
ตั้งสติว่าจะทำอย่างไร ดูแลตัวเอง รับการรักษาด้วยวิธีไหน และมีวินัยในการดูแลตัวเองอยู่เสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ
คุณสรรเสริญ คุณวัฒน์