Palliative Care

เราเลือกมีชีวิตที่มีคุณภาพที่ดีได้ แม้กำลังเผชิญหน้ากับโรคที่คุกคามต่อชีวิต

Palliative Care คืออะไร

การดูแลผู้ป่วย โดยมุ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งเผชิญหน้ากับโรคที่คุกคามต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโรคใด โดยเน้นการดูแลรักษาอาการที่ทำให้ทุกข์ทรมาน ทั้งอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณแบบองค์รวม ควรให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคระยะสุดท้าย จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต รวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยหลังจากการสูญเสียถึงการยอมรับได้และการอยู่กับความสูญเสียที่เกิดขึ้น

Palliative Care มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า การดูแลแบบประคับประคอง

ชวนทำความเข้าใจมากขึ้น ในหัวข้อตามนี้

  • เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง
  • ใครที่เหมาะสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง
  • เมื่อไหร่ที่เราควรเริ่มเข้าสู่การดูแลแบบประคับประคอง 
  • จะเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างไร

คลิกเลย https://baojai.co/whai-is-palliative-care/

องค์กร
ที่ทำเรื่อง Palliative Care

องค์กรที่ทำเรื่อง Palliative Care

  • Peaceful Death
    Peaceful death คือกลุ่มเพื่อนกิจกรรม ทำงานสนับสนุนการอยู่และตายดี มีเครื่องมื่อ สื่อที่น่าสนใจมากมาย เช่น หนังสือภาพประกอบสวยงาม อ่านง่าย ไพ่ เนื้อหาในเพจและเว็บไซต์ก็ดีมาก
  • ชีวามิตร
    ศูนย์รวมข้อมูลและนําทางเลือกให้ทุกคนสามารถเข้าใจและเข้าถึงคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายอย่างเท่า เทียมและเท่าทัน ตั้งแต่ยังมีสุขภาพดีจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะพึ่งพิงและเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตอย่างสงบและ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม
    ให้คำปรึกษาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามและครอบครัว ดูแลผู้ป่วยที่เลือกใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่บ้าน จนถึงการตายดีที่บ้าน
  • เว็บ เบาใจ
    เว็บไซต์สนับสนุนการวางแผนดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) และการดูแลแบบประคับประคอง ผ่านการให้ความรู้ เครื่องมือและสื่อการเรียนรู้อันหลากหลาย

เรื่องเกี่ยวกับ Palliative Care

  • การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
    “ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั้นๆ ว่า “มีสติไม่หลงตาย” และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญ ที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติไม่หลงตาย”
  • หนังสือ สูญเสีย ไม่เสียศูนย์
    ความสูญเสีย (Loss) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่เราสามารถดูแลความโศกเศร้าจากการสูญเสีย (Grief) ไม่ให้เสียศูนย์มากเกินไปได้
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย
    “ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั้นๆ ว่า “มีสติไม่หลงตาย” และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญ ที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติไม่หลงตาย”
-+=