“Headspace” ชวนทำสมาธิ พักจากสิ่งต่างๆ
ลองดึงตัวเองออกมาจากสิ่งต่างๆ เพียงไม่กี่นาที หรือนานกว่านั้น แต่เป็นประจำ
เพื่อให้เราได้หยุดพักสักระยะ และฝึกจิตใจให้อยู่กับปัจจุบันมากขึ้น ฟุ้งซ่านน้อยลง
ตัวช่วยน่ารักๆ ใกล้ตัว แถมพึ่งพาได้แทบจะทุกที่ ทุกเวลา
ในสภาวะที่ร่างกายจิตใจเราเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าว้าวุ่นจากเรื่องราวอันหนักหน่วงที่ต้องเผชิญ เราทุกคนต่างโหยหาช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายและหยุดพัก แต่ถึงแม้ว่าจะอยากให้ตัวเองได้รู้สึกสงบผ่อนคลายมากแค่ไหน ในความเป็นจริงหลายคนอาจพบว่ามันกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเหลือเกิน
ยิ่งอยู่เฉย ความคิดยิ่งฟุ้งซ่าน
ยิ่งวิ่งตามความคิด พยายามจัดการหลายๆ สิ่ง ก็กลับยิ่งร้อนรนวุ่นวายใจอย่างไม่จบสิ้นอยู่อย่างนั้น
ในเวลาแบบนี้…เราจึงอาจต้องการผู้ช่วยที่จะนำพาเราให้หลุดออกจากวังวนที่ติดอยู่ภายในตัวของเราเองได้
แต่จะทำยังไงดีนะ อยากเรียนรู้ดูแลจิตใจ อยากฝึกสมาธิ แต่ไม่มีเวลาไปเข้าคลาส ไม่อยากไปเข้าวัด…เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกันนี้ เราจึงอยากแนะนำตัวช่วยน่ารักๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย ใกล้ตัว แถมพึ่งพาได้แทบจะทุกที่ ทุกเวลา เพื่อเป็นตัวเลือกให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ดูแลตัวเองกัน
เทคนิคดูแลใจ และจัดการอารมณ์ ที่ทำได้เลย
“Headspace” เป็นชุดสารคดีกึ่งซีรีส์บน Netflix ที่น่ารักและเข้าใจเรามาก มาแนะนำแนวทางในการทำสมาธิ ผ่อนคลาย และดูแลจิตใจตัวเอง
ลองดูตัวอย่างน่ารักๆ
ให้เวลาตัวเอง 1:12 นาที ในการดู ซึมซับความน่ารัก ดื่มด่ำกับการเริ่มต้นนี้
โดยไม่ต้องเร่งรีบไปไหน ไม่ต้องทำอะไร
Netflix เป็นบริการดูหนังออนไลน์ มีค่าสมาชิกรายเดือน ถ้าสมัครเป็นสมาชิก premium ก็หาคนในครอบครัวหรือเพื่อนแชร์ค่าบริการได้ จะถูกลง เดือนละ 99-169 บาท/คน (ข้อมูล ณ มี.ค. 2566)
มาเริ่มฝึกสมาธิกัน
หากเรามีสภาพจิตใจที่แข็งแรงแจ่มใส พลังบวกนี้ก็สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อร่างกาย หรือช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยทางร่างกายของเราให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
เจ้าลูกกลมๆ สีส้มน่ารัก ชื่อว่าแอนดี้ จะนำเราทำสมาธิในทุกขั้นตอน เพียงแค่ตามคุณแอนดี้ไป และบอกด้วยว่าจะใช้แต่ละเทคนิคในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างไร จะเคยนั่งสมาธิหรือไม่เคยนั่งเลย คุณแอนดี้ก็พร้อมพาพวกเราไปกัน
คุณแอนดี้ยังบอกด้วยว่า
- จะช่วยให้เราได้ใกล้ชิดกับคนที่เราห่วงใยมากที่สุดได้อย่างไร
- นั่งสมาธิแล้วจิตใจไม่สงบทำอย่างไร
มีแนวทางในการฝึกปฏิบัติแบบง่ายๆ ใช้เวลาสั้นๆ ปรับยืดหยุ่นได้ตามความสะดวกและความสบายใจของเรา
นั่งท่าไหนๆ ก็ทำสมาธิได้
ทำสมาธิดีอย่างไร วิทยาศาตร์ก็อธิบายได้
ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้วัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ระดับความเครียด โครงสร้างสมอง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทำสมาธิ
สมองเราฝึกได้เหมือนกับที่เราออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่วนของสมองที่รับผิดชอบความรู้สึกสุข ความสุขกายสบายใจ มีเลือดไหลเวียนมากขึ้น หนาขึ้น แข็งแรงขึ้น เราเลยใช้เวลามากขึ้นในพื้นที่นั้น
ดูและฟังด้วยความเพลิดเพลินใจ ไม่ต้องรีบไปทำอะไร
ฟังคุณแอนดี้เล่าเรื่องเพลินๆ และทำให้เราเข้าใจจิตใจของเราได้ง่ายและน่ารักมาก ขอให้ดูและฟังด้วยความเพลินเพลิน
Guide to Meditation มี 8 ตอน ตอนละ 20 นาที แบ่งตามหัวข้อ
แบ่งดูวันละตอน จะชวนคนใกล้ตัวทำเพิ่มอีกคนด้วยก็ได้
ถ้าเวลาไม่พอจริงๆ ก็แบ่งดูวันละครึ่งตอนก็ได้เช่นกัน สำคัญที่ได้เริ่มทำ ^^
กดลิ้งก์นี้ เพื่อเริ่มทำสมาธิกันเลย ^^
ตอนที่ 1
เริ่มต้น : ชีวิตอันวุ่นวาย และคุณแอนดี้เล่าเรื่อง
นาทีที่ 1.50 : การทำสมาธิคืออะไร ทำแล้วดีอย่างไร
นาทีที่ 3.47 : จิตใจอันว้าวุ่น
นาทีที่ 7.17 : อธิบายเรื่องการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาวัดค่า ก่อน ระหว่าง และหลังทำสมาธิ
นาทีที่ 9.35 : ลองทำสมาธิกัน ^^
หลังจากดูเกริ่นนำแล้ว ก็มีตอนอื่นๆ ตามนี้
ลองเลือกตามที่กำลังพบเจอในปัจจุบัน เลือกสักอัน แล้วเริ่มเลย
- How to Let Go : จะปล่อยวางได้อย่างไร
- How to Fall in Love with Life : ทำอย่างไรถึงจะตกหลุมรักชีวิตได้
- How to Deal with Stress : จัดการความเครียดได้อย่างไร
- How to be Kind : ทำอย่างไรให้ใจดี
- How to Deal with Pain : จะจัดการกับความเจ็บปวดได้อย่างไร
- How to Deal with Anger : จะจัดการกับความโกรธได้อย่างไร
- How to Achieve Your Limitless Potential : อยากมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด ต้องทำอย่างไร
ผสมผสานหลายศาสตร์ อย่างกลมกลืน
คุณแอนดี้ได้เรียนรู้ ทำ ลองผิดลองถูกในหลายๆ ศาสตร์ จนเข้าใจเรื่องของจิตใจมากขึ้น จึงอยากนำมาแบ่งปันให้คนเข้าใจการทำสมาธิได้ง่ายๆ เข้าถึงง่าย
ทำอย่างสม่ำเสมอ
สิ่งที่ในแต่ละบทเนื้อหาเน้นย้ำอยู่ตลอด คือเรื่องความสำคัญของการ “ฝึกทำอย่างสม่ำเสมอ” ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกับจิตใจและชีวิตเรา โดยเป็นการทำในแบบที่ “ไม่ต้องพยายาม” เคี่ยวเข็ญจนมากเกินไป “ไม่ต้องกังวล” หากทำแล้วไม่เป็นไปตามที่เขาบอก แต่เพียงแค่ค่อย ๆ ทำอย่าง “ผ่อนคลาย” “สม่ำเสมอ” โดยให้ตระหนักว่า ในทุกการลงมือปฏิบัติของเรา ได้ส่งผลบางอย่างขึ้นกับสมองและจิตใจภายในของเราแล้วทีละน้อย…
จากนั้น…ความใส่ใจ ความสม่ำเสมอ และกาลเวลา จะพาเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
“ประโยชน์ที่แท้จริงของการทำสมาธิจะเกิดขึ้นได้
Headspace : Guide to Meditation
เมื่อเรานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในความสัมพันธ์ และสัมผัสกับประสบการณ์ของเรา
ขอบคุณจากหัวใจ
- ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Headspace ได้ที่ : https://www.headspace.com/