จบการรักษาแล้ว
หลังจบการรักษา มีเรื่องควรพิจารณาดังนี้
- ใส่ใจสุขภาพร่างกายและจิตใจ
- ปรับการทำงาน
- จัดการการเงิน
ใส่ใจสุขภาพร่างกายและจิตใจ
มะเร็งเปิดโอกาสให้เราได้ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของเราให้ดี
ระหว่างการรักษามะเร็งอาจเจออุปสรรคและความยากที่เราได้ฝ่าฟันมาหลายอย่าง แต่มะเร็งก็เปิดโอกาสให้เราได้ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของเราให้ดี
เพื่อให้ร่างกายและเรามีความสุข เรามีข้อแนะนำหลังจบการรักษา ดังนี้
- สังเกต ใส่ใจร่างกาย และดูแลสุขภาพด้วยความอ่อนโยน
- รักษาจิตใจให้แจ่มใส ใส่ใจการนอนให้เพียงพอและมีคุณภาพ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายดี ท้องไส้ขับถ่ายดี พาตัวเองอยู่ในที่ที่อากาศดี
- พบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเรื่อยไป หากมีอาการน่าสงสัยควรรีบกลับไปพบแพทย์ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะรักษาได้ง่ายกว่า
ยอมรับสภาวะร่างกายที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
ในกระบวนการรักษามะเร็ง อาจทำให้ร่างกายบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป อาจมีบางอย่างที่ทำแล้วไม่สะดวกเหมือนเดิม เราทำได้เพียงยอมรับ อาจใช้เวลาทำใจ เตรียมใจสักระยะ เพื่อให้ยอมรับความเปลี่ยนแปลงได้
ลองคิดว่าความไม่สะดวกก็เหมือนกับที่ตอนเด็กเรามุดเล่นในตู้ได้ แต่พอโตมาร่างกายเราใหญ่ขึ้น เปลี่ยนแปลงไป มุดเล่นในตู้ไม่ได้แล้ว เพียงแค่อยู่กับปัจจุบันของร่างกายเรา ค่อยๆ เรียนรู้ที่จะรักร่างกายเราแบบที่เป็นในปัจจุบัน แล้วปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดคล้องและมีใจที่แจ่มใสกับร่างกายเราขณะนี้
เมื่อเรามีจิตใจที่แจ่มใส ร่างกายเราก็จะแข็งแรงขึ้นได้ และช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งได้
เมื่อเรามีจิตใจที่แจ่มใส ร่างกายเราก็จะแข็งแรงขึ้นได้ และลดความเสี่ยงมะเร็งได้เช่นกัน เพราะถ้าเราเครียด จะค่อยๆ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งได้
พร้อมทั้งปรับการกินให้เหมาะสม สนุกกับการสร้างสรรค์ทำอาหารให้อร่อยอยู่เสมอ
เมื่อกลับไปทำงาน
ร่างกายและสภาวะจิตใจอาจเปลี่ยนแปลงไป อาจมีความกังวลใจ กลัว หรืออาจจะกล้าลงมือทำอะไรมากขึ้น
สามารถลองพูดคุยปรึกษากับนายจ้างได้ สื่อสารได้ว่าในช่วงนี้เราทำอะไรได้บ้าง มีเรื่องอะไรที่ควรระวัง หรือเราอาจจะเข้าใจชีวิตมากขึ้น และทำให้การทำงานดีขึ้นก็ได้
การพูดคุยกับนายจ้างช่วยให้คุณสบายใจกับการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
การตัดสินใจและตกลงร่วมกันทำแผนการกลับไปทำงานอย่างยืดหยุ่นจะช่วยให้คุณเข้าใจกันและกันได้ว่า นายจ้างจะช่วยคุณได้อย่างไร คุณสามารถทำอะไรได้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นได้และเมื่อใดบ้าง
ซึ่งอาจรวมถึงชั่วโมงการทำงานที่เปลี่ยนไป หน้าที่เปลี่ยนไป ที่ทำงานเปลี่ยนไป หรือสิ่งอื่นๆ อาจมีเนื้องานบางส่วนเปลี่ยนไป เช่น ในงานขับรถหรือการดูแลเครื่องจักร เป็นต้น
นายจ้างมีหน้าที่ช่วยเหลือปรับเปลี่ยนเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนเมื่อคุณกลับมาทำงาน รวมถึงเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ให้ เช่น ปรับเครื่องมือทำงานให้เหมาะสมกับร่างกายและจิตใจในปัจจุบัน
พูดคุยกัน
ก่อนเริ่มทำงานอีกครั้ง คุณและหัวหน้าหรือนายจ้างของคุณควรตกลงร่วมกันถึงแผนการกลับมาทำงานของคุณ หารือร่วมกันถึงวิธีที่ดีที่สุดกับทั้งคุณและที่ทำงาน โดยแผนควรยืดหยุ่น สามารถทบทวนและเปลี่ยนแปลงได้
พูดคุยและตัดสินใจร่วมกัน
คุณควรจะมีส่วนร่วมในการพูดคุยและตัดสินใจเรื่องนี้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะถ้าคุณยังต้องรับมือกับผลข้างเคียงของการรักษามะเร็ง ควรหารือถึงการเปลี่ยนแปลงในงานทั้งระยะสั้นหรือในระยะที่ยาวนานขึ้น ที่ทำงานบางที่มีที่ปรึกษาเรื่องอาชีพและสุขภาพ คุณสามารถไปปรึกษาได้ โดยสามารถปรึกษาเป็นระยะๆ จนกว่าคุณจะกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
ที่ทำงานบางที่มีที่ปรึกษาเรื่องอาชีพและสุขภาพ ก็สามารถไปปรึกษาได้ โดยคุณสามารถปรึกษาเป็นระยะๆ จนกว่าคุณจะกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
ถ้าคุณรู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น กระบวนการทำงานหรือระบบใหม่เพิ่มเข้ามา คุณอาจต้องขอเวลาหรือเข้าอบรมเพื่อตามให้ทัน และถ้าเป็นไปได้ คุณควรวางแผนการกลับมาแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป โดยสามารถตกลงกับหัวหน้างาน และรับความช่วยเหลือจากคุณหมอและที่ปรึกษาด้านอาชีพและสุขภาพ
สิ่งจำเป็นมากที่ควรจะตกลงกัน คือ คุณอาจจะต้องหยุดพักผ่อน เนื่องจากอาจมีงานที่หนักเกินตัวหรือเร็วเกินไปที่จะทำ
คุณและหัวหน้างานควรตัดสินใจร่วมกันว่าหน้าที่ใดสำคัญสุดและคุณควรทำงานนั้นก่อนงานอื่นจนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น
สิ่งจำเป็นมากที่ควรจะตกลงกับหัวหน้างานคือคุณอาจต้องพักงานบางอย่างไป เนื่องจากอาจมีงานที่หนักเกินตัวหรือยังไม่ควรทำ เช่น หากคุณเป็นคนงานที่ใช้แรง เช่น ช่างก่ออิฐ หรือช่างเครื่อง หรือกรณีรักษาเนื้องอกในสมอง อาจต้องรอหนึ่งปีก่อนที่คุณจะได้รับอนุญาตให้ขับรถอีก
ร่างกายอาจกลับมาเหมือนเดิม หรืออาจฟื้นฟูได้ไม่ครบ อาจมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ความยืดหยุ่นทางใจจจะช่วยปรับสมดุลชีวิตใหม่นี้ได้ดีขึ้น
ความรู้สึกเมื่อกลับไปทำงาน
การกลับไปทำงานหลังจากหยุดพักสองสามสัปดาห์หรือเป็นเดือนอาจเป็นเรื่องยาก คุณอาจรู้สึกว่าคุณสามารถกลับไปทำงานอย่างเดิมได้แต่อาจรู้สึกกังวลใจ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่บางคนจะรู้สึกเช่นนั้น เพราะอาจจะสงสัยตัวเองว่าจะยังสามารถทำงานได้เหมือนเดิมหรือไม่และคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรกับเขา
สำหรับหลายๆ คน การกลับไปทำงานช่วยทางด้านจิตใจได้มาก ช่วยให้รู้สึกว่ามะเร็งไปจากชีวิตแล้ว สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ งานสามารถค่อยๆ คืนความเป็นปกติ ได้ทำกิจวัตรประจำวัน เสริมความมั่นคง รายได้ และมีความสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างสบายใจมากขึ้น
การเงิน
สิ่งที่สำคัญ คือ ควรพิจารณาสถานการณ์การเงินของคุณด้วย สัญญากู้ จำนอง หรือสินเชื่อของคุณอาจมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการรักษา และหากคุณได้รับประโยชน์ผ่อนปรน เมื่อกลับไปทำงานอาจทำให้ผลประโยชน์บางส่วนหมดไป ลองปรึกษาผู้ที่สามารถให้คำแนะนำด้านการเงินได้
ดูแลสภาพจิตใจหลังการรักษา
แม้ว่าการรักษามะเร็งอาจมีผลกระทบยาวนาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งยังคงสามารถทำงานได้อย่างขยันขันแข็งและมีประสิทธิภาพ เมื่อสิ้นสุดการรักษาเราก็มักจะรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง เพราะมะเร็งไม่อยู่แล้วและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้แล้ว แต่สำหรับบางคนก็ยังคงเป็นช่วงเวลายากลำบากที่จะปรับตัวกับทุกสิ่งและปรับใจกับผลกระทบของสิ่งต่างๆ ที่เคยเจอ
เป็นเรื่องปกติที่บางคนจะรู้สึกเหนื่อยไปหลายเดือนหลังการรักษา และต้องใช้เวลาฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติ หลายคนใช้เวลาปรับตัวปรับใจเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขาหลังจากเป็นมะเร็ง รวมถึงเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหาร ความสัมพันธ์ และการใช้เวลาว่าง หลายคนอาจมีอารมณ์ต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลังจากเป็นมะเร็งและหลังการรักษาบางคนอาจจะกลัวมะเร็งจะกลับมา และอาจต้องกลับไปรักษาอีก
บางคนอาจต้องการกำลังใจ และการช่วยเหลือเพื่อรับมือกับอารมณ์ของพวกเขา
บางคนอาจสงสัยว่ามะเร็งรักษาได้หายขาดหรือไม่ บางคนก็อาจรู้สึกหดหู่ไปชั่วขณะ แต่โดยปกติแล้วความรู้สึกและความกังวลเหล่านี้จะค่อยๆ น้อยลง และเมื่อเวลาผ่านไปคนส่วนใหญ่ก็เริ่มที่จะสนุกกับชีวิตอีกครั้ง อย่างไรก็ตามบางคนอาจต้องการกำลังใจ และการช่วยเหลือเพื่อรับมือกับอารมณ์ของพวกเขา บางคนพบว่ากลุ่มสนับสนุนให้กำลังใจนั้นเป็นประโยชน์ หรือไปพบที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาก็ได้เช่นกัน
โดยปกติแล้วคุณจะยังคงต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพต่อเนื่องหลายปีหลังการรักษา เพื่อให้แพทย์และคุณมั่นใจในสุขภาพของคุณได้