ฝึกสมาธิ บรรเทาความเจ็บปวด

สมาธิ ช่วยให้เราอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดทางกายได้ดีขึ้น

ฝึกสมาธิเป็นประจำ ช่วยให้เราอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดทางกายได้ดีขึ้น

ในเวลาที่เรามีความเจ็บป่วยทางกาย หลายครั้งมันเป็นเรื่องยากที่เราจะมีสมาธิกับการทำอะไรซักอย่าง แต่รู้ไหมว่าในอีกด้านหนึ่ง การฝึกสมาธิเป็นประจำสามารถช่วยทำให้เราอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดทางกายได้ดีขึ้น วันนี้เราจึงอยากชวนมาเรียนรู้กันว่า ‘การฝึกสมาธิ’ สามารถช่วยดูแลเราในยามเจ็บป่วยทางกายได้อย่างไร

สมาธิทำให้จิตใจผ่อนคลาย จะทำให้ความตึงเครียดทางร่างกายลดลงได้

การตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวด มี 2 ลักษณะ

จากการศึกษาของ Dr.Sara Lazar มหาวิทยาลัย Harvard พบว่า การรับรู้และตอบสนองต่อความเจ็บปวดของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  1. ความรู้สึกทางกาย เช่น ร้อน เจ็บ ปวด
  2. ความคิดที่มีต่อความเจ็บปวดนั้น เช่น “ไม่ชอบเลย” “แย่จัง” “ทำไมต้องเป็นเรา” “หยุดเสียที”

โดยทั้งสองแบบนี้ เป็นการตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวดอันเดียวกัน แต่เกิดขึ้นในสมองคนละส่วนกัน และมีความเป็นอิสระจากกัน ส่งผลที่ต่างกัน ซึ่งตัวแปรอันนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละคนมีสภาวะที่แตกต่างในการตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางกายแบบเดียวกัน

ความคิดความรู้สึกต่อความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละคนมีสภาวะที่แตกต่างในการตอบสนองต่อความเจ็บปวด

เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับความเจ็บปวด

การฝึกสมาธิ แม้ว่าอาจจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้บ้างในบางกรณี เพราะการทำให้จิตใจผ่อนคลาย จะทำให้ความตึงเครียดทางร่างกายลดลงได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าความเจ็บปวดจะหายไปทุกครั้ง เพราะสมาธิไม่ได้ช่วยลบความเจ็บปวดออกไป แต่จะช่วยให้เราอยู่กับช่วงเวลาเหล่านั้นได้อย่างเบาขึ้น

ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญของการทำสมาธิเพื่อช่วยเรื่องความเจ็บปวด ก็คือการช่วยเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับความเจ็บปวด ให้มีความเป็นมิตร ไม่ใช่สร้างศัตรู ที่จะยิ่งทำร้ายตัวเราเองเพิ่มขึ้นอย่างซ้ำซ้อน

การฝึกสมาธิช่วยเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเรากับความเจ็บปวด ให้มีความเป็นมิตร

ไม่ใช่สร้างศัตรู ที่จะยิ่งทำร้ายตัวเราเองเพิ่มขึ้นอย่างซ้ำซ้อน

เทคนิคการฝึกสมาธิเพื่ออยู่ร่วมกับความเจ็บปวด

ตั้งเจตจำนง

ตั้งเจตจำนง ว่าเราอยากหลุดจากความทุกข์ต่อความเจ็บปวดทางกาย

และเพิ่มการลงมือทำอะไรบางอย่าง เพื่อไปสู่เป้าหมายตามเจตจำนงนั้น

การตั้งเจตจำนง เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยนำให้เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเอง และเดินไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งอาจแตกต่างจากการมีความเชื่อเพียงอย่างเดียว แต่จะเราเพิ่มการลงมือทำอะไรบางอย่าง เพื่อไปสู่เป้าหมายตามเจตจำนงนั้นให้ได้ด้วย

รับรู้ว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยว

รับรู้ว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยวในความเจ็บปวดที่เผชิญนี้

เชื่อมโยงกับหัวใจของชีวิตมายบนโลกใบนี้ รับรู้ว่าคนอื่นๆ อีกหลายคนก็กำลังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ แม้จะแตกต่างกันก็ตาม

ในเวลาที่คนเราต้องเผชิญกับความเจ็บปวด จะทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวได้ง่ายมาก ขอให้เราลองเปิดใจ เชื่อมโยงกับหัวใจของชีวิตมายบนโลกใบนี้ รับรู้ว่ามีคนมากมายที่กำลังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ อาจทั้งเหมือนและในแบบที่แตกต่างกันกับเรา การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้เรารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง มองเห็นความเจ็บปวดร่วมกัน เป็นความสุขและความทุกข์ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยก

รับรู้ความเจ็บปวดอย่างที่เป็น

รับรู้ความเจ็บปวดอย่างที่เป็น โดยไม่ต่อต้าน ไม่ตัดสิน

สังเกตธรรมชาติของความเจ็บปวด ว่ามันเกิดขึ้นทั้งกับร่างกาย และกับจิตใจของเราอย่างไร

รับรู้ความเจ็บปวด โดยไม่จมดิ่งไปกับความคิดที่เป็นลบต่อความเจ็บปวดนั้น

และถึงแม้ว่าจะยังมีความคิดเหล่านั้นเข้ามา ก็เพียงแค่รับรู้ และปล่อยมันไปโดยที่ไม่ต้องไปตัดสิน หรือต่อต้าน เพราะเป็นสิ่งที่จะยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้กับทั้งจิตใจและร่างกาย

เราเพียงแค่ “เฝ้ามองดู” ความเจ็บปวดเหล่านั้น เหมือนเพียงนั่งสังเกตจากที่ไกลออกไป

ฝึกสติ ทำสมาธิ

ฝึกสติ ทำสมาธิ ด้วยวิธีพิจารณร่างกาย (Body Scan)

ช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับความเจ็บปวดได้ โดยไม่รู้สึกทรมานจนทนไม่ไหว

“การมีสติ” จะช่วยให้เราเกิดความใส่ใจและการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในปัจจุบันขณะ เมื่อเราทำการเจริญสติ ส่วนที่เป็นประสาทสัมผัสของสมองจะทำงาน และส่วนการตัดสินจะปิดลง จึงช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับความเจ็บปวดได้ โดยไม่รู้สึกทรมานจนทนไม่ไหว

สแกนร่างกาย ทำอย่างไร

“การทำสมาธิแบบพิจารณาร่างกาย” หรือ Body Scan เป็นเทคนิคที่จะช่วยเชื่อมโยงร่างกายและจิตใจกลับมาอยู่ร่วมกัน

  • วางสมาธิแบบหลวมๆ รับรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา รับรู้ถึงร่างกายของเรา
  • สัมผัสความรู้สึกจากด้านบนของร่างกาย ลงไปถึงด้านล่าง โดยให้รับรู้ความรู้สึกของร่างกายแต่ละส่วน
  • จินตนาการภาพ รับรู้ถึงจุดที่สบาย อึดอัด เจ็บ ผ่อนคลาย โดยไม่พยายามไปเปลี่ยนแปลงหรือต่อต้าน สำรวจรับรู้ ปรับตัวอยู่ร่วมไปกับมัน ไม่ต้องเพ่งโฟกัสจนมากเกินไป
  • สร้างพื้นที่ว่างภายในจิตใจ ระหว่าง “ความรู้สึกเจ็บปวดอึดอัด” กับ “การมองดูความรู้สึกเหล่านั้น”
    ค่อยๆ ขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น ผ่อนคลาย เบาสบายมากขึ้น
  • วางสมาธิในใจไว้แบบนี้ อย่างบางเบา ผ่อนคลาย ไม่ต้องเพ่งพยายาม

รับรู้ความรู้สึกของร่างกายแต่ละส่วน อย่างหลวมๆ

ถอยออกมาเป็นเพียงผู้มอง

ค่อยๆ เลื่อนจากบนลงล่าง สแกนเบาๆ ไม่ตึงเครียด

ผ่อนคลาย ไม่ต้องเพ่งพยายาม

ดูแลจิตใจด้วย

การเปลี่ยนมุมมองต่อความเจ็บปวด และการฝึกสติสมาธิในลักษณะนี้อย่างเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาความตึงเครียดทางร่างกาย จิตใจ และเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของเรากับความเจ็บปวดได้

ในทางร่างกาย เราก็ดูแลรักษาและใช้วิธีบรรเทาความเจ็บปวดต่างๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล หรือแนวทางที่เราพบว่าเหมาะสมกับตัวเองได้ แต่อย่าลืมว่า การดูแลทางด้านจิตใจก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

วิธีการเหล่านี้อาจเป็นเพียงแนวทางหนึ่งท่ามกลางวิถีทางอันมากมาย ขอเพียงเริ่มต้นทดลองลงมือทำดู เพื่อให้เราได้ค้นพบวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง และสามารถอยู่ร่วมกับความเจ็บป่วยทั้งหลายได้อย่างดียิ่งขึ้นในที่สุด

ในทางร่างกาย เราก็ดูแลรักษาและใช้วิธีบรรเทาความเจ็บปวดต่าง ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล หรือแนวทางที่เราพบว่าเหมาะสมกับตัวเองได้

และการดูแลจิตใจก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

ขอบคุณจากหัวใจ

  • คุณฝน กนกพร ตรีครุธพันธ์, ผู้เขียน
  • ข้อมูลและเทคนิคจาก ซีรี่ส์ headspace : Guide to meditation “How to deal with pain”
  • ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิ และการทำงานของสมอง โดย Dr.Sara Lazar “How Meditation Can Reshape Our Brains: Sara Lazar at TEDxCambridge 2011”
-+=