ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดูแลอย่างไร ทานอาหารและใช้ชีวิตอย่างไรให้ดี

สรุปเนื้อหาเรื่องมะเร็ง Thai Cancer Academy

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ตรวจพบได้จากอะไร

เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่มีการแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้มากถึง 47 ชนิด (จากข้อมูลของ WHO) ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะของการพบโรค อาการ ตลอดจนวิธีการที่ต้องใช้ในการรักษาที่แตกต่างกัน

CLL เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างลูคิเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว จึงอาจเป็นได้ทั้งในระบบเลือด ต่อมน้ำเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองระบบก็ได้

บางคนอาจเกิดจากการพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น มีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน มีไข้ ปวดร่างกาย เป็นต้น

บางคนอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย แต่พบจากการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี เนื่องจากค่าเลือดผิดปกติ

ในการตรวจพบโรค บางคนอาจเกิดจากการพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น มีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน มีไข้ ปวดร่างกาย เป็นต้น บางคนอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย แต่พบจากการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี เนื่องจากค่าเลือดผิดปกติ แล้วทำการตรวจเจาะจง ส่งตรวจชิ้นเนื้อ จึงพบสาเหตุ ในรายที่ไม่แสดงอาการนี้อาจเกิดจากการที่มะเร็งอยู่ในระบบเลือด และเป็นแบบเรื้อรัง (มีการดำเนินโรคช้า)

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง CLL

การส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยระบุได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเสมอไป อาจใช้เข็มเจาะดูดหรือวิธีอื่นๆ ได้

อย่างไรก็ตามทุกคนที่ป่วยเป็นมะเร็งยังสามารถมีโอกาสรักษาหรือดูแลให้ใช้ชีวิตตามปกติได้ด้วยการแพทย์ในปัจจุบัน

รูปแบบแนวทางการรักษา

โดยทั่วไปจะมีแนวทางการรักษาหลัก ๆ อยู่ 4 รูปแบบ ได้แก่

  • ยาพุ่งเป้า
  • ยาเคมีบำบัด
  • การฉายแสง
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

การจะเลือกใช้วิธีการรักษาแบบใด และลำดับขั้นตอนเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของโรค การดำเนินโรค สภาพร่างกายของคนไข้ ความรุนแรงของโรค โดยต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ดูแลเป็นคนพิจารณา คำแนะนำในการรักษาอาจเป็นได้ทั้งการเข้ารับเคมีบำบัด ต่อด้วยการฉายแสง หากโรคยังไม่สงบก็ปลูกถ่ายไขกระดูก และใช้ยาพุ่งเป้าเพื่อดูแลควบคุมโรคต่อไป

บางรายที่เป็นผู้สูงอายุและอาการไม่มาก ก็อาจได้รับคำแนะนำให้ดูแลรักษาแบบเฝ้าระวังและติดตามดูอาการ โดยยังไม่ต้องทำการรักษาหรือรับยาใดๆ

ปลูกถ่ายไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูกมักทำในกรณีที่มีการให้ยาเคมีในปริมาณที่สูงมากเพื่อต้องการฆ่าเซลล์มะเร็งให้หมด จนทำให้เซลล์ปกติก็ไม่สามารถอยู่ได้ จึงต้องทำการเก็บเซลล์ร่างกายของผู้ป่วยไว้ก่อน (Stem Cell หรือเซลล์ต้นกำเนิด) เพื่อนำมาใช้กลับคืนสู่ร่างกายให้เกิดการฟื้นตัว

บางประเภท ยังไม่จำเป็นต้องเริ่มรักษา

ในขณะที่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางประเภทก็ยังไม่จำเป็นต้องเริ่มการรักษา เช่น เซลล์ที่เป็นชนิดตัวเล็กๆ ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุ อาจใช้วิธีการติดตามเฉยๆ เพราะการรักษาไม่ได้ทำให้หายขาด และผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงจากยาที่ไม่คุ้มค่าต่อการรักษา ทั้งนี้หากติดตามโรคไปจนถึงจุดที่เห็นว่ามะเร็งเริ่มจะทำให้เกิดปัญหากับร่างกายแล้ว จึงค่อยพิจารณาให้ยาเพื่อควบคุมมะเร็ง

เป้าหมายและแนวทางในการรักษานี้ เป็นสิ่งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแลสามารถพูดคุยเพื่อตั้งเป้าร่วมกันได้

เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย

การติดตามการรักษา มีความสำคัญอย่างไร

หลังจากที่โรคมะเร็งสงบ โดยปกติจะมีโอกาสกำเริบใหม่ได้ และเมื่อเกิดขึ้นมาใหม่จะทำให้รักษายากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากแสดงว่ามะเร็งดื้อกับยาตัวเก่าแล้ว และต้องมองหาวิธีการรักษาใหม่ จึงควรดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้โรคกลับมาใหม่ หรือเมื่อโรคกลับมาก็ควรต้องรู้ให้เร็วที่สุด การดูแลติดตามของแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รักษาได้อย่างทันท่วงที

ควรดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้โรคกลับมาใหม่ หรือเมื่อโรคกลับมาก็ควรต้องรู้ให้เร็วที่สุด การดูแลติดตามของแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้รักษาได้อย่างทันท่วงที

ตรวจด้วยตัวเอง

นอกจากการมาพบแพทย์แล้ว การตรวจด้วยตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำได้ โดยการคลำอวัยวะต่างๆ ตามร่างกาย เพื่อตรวจหาก้อนที่มีความผิดปกติ โดยทั่วไปก้อนของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมี 2 ลักษณะ คือ อยู่ด้านใน และอยู่ด้านนอกซึ่งเป็นส่วนที่คลำเจอด้วยตัวเองได้

วิธีคลำตรวจต่อมน้ำเหลืองด้วยตัวเองง่ายๆ
เพียง 1 นาทีต่อเดือน

แนวทางการดูแลตัวเองของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

หลักสำคัญ

  1. รับประทานอาหารที่สดสะอาด ถูกหลักโภชนาการ
    • ทานอาหารที่ผ่านความร้อน
    • ไม่กินผักสด ผลไม้เปลือกบาง ของค้างคืน
    • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ของหมักดอง ผักผลไม้อาหารที่มีสารเคมียาฆ่าแมลง
    • ลดอาหารรสจัด
  2. ออกกำลังกาย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ทำจิตใจให้ผ่อนคลายไม่เครียด

ผู้ป่วยสูงวัย ออกกำลังกาย และดูแลตัวเองอย่างไร

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ก็ตาม เพราะช่วยในการดูแลรักษาและฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงได้ โดยควรเลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกายในช่วงนั้นๆ ที่อาจสัมพันธ์กับระยะโรคและการรักษา

สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง อาจเลือกเล่นกีฬาที่ไม่ใช้แรงมาก เช่น จี้กง รำมวยจีน เดินภายในบ้าน กายบริหาร ให้ได้มีเหงื่อออกบ้าง หลังทานอาหารเสร็จก็เดินเพื่อช่วยย่อยประมาณ 15 นาที ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีวินัยในการทำ ควรหาแรงจูงใจให้ทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลดี

เลือกเล่นกีฬาที่ไม่ใช้แรงมาก เช่น จี้กง รำมวยจีน เดินภายในบ้าน กายบริหาร ให้มีเหงื่อออกบ้าง

หลังทานอาหารเสร็จก็เดินเพื่อช่วยย่อยประมาณ 15 นาที

อ่อนเพลียมาก ออกกำลังอย่างไร

กรณีผู้ป่วยได้รับคีโมและภูมิคุ้มกันตกมาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถออกกำลังกายได้ อาจแค่พยายามขยับเขยื้อนตัวเท่าที่ทำได้บนเตียง และระวังความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุสะดุดล้ม กระแทก เป็นแผล และอื่นๆ

ฉายแสง

การฉายแสงเป็นการรักษาเฉพาะที่ โดยมีตำแหน่งแตกต่างกัน ส่งผลต่ออาการของอวัยวะใกล้เคียงที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่บริเวณที่มักมีปัญหา คือ คอ และช่วงอก นอกจากนี้การฉายแสงในปริมาณมากก็ส่งผลให้เม็ดเลือดตกได้ จึงควรดูแลระวังตามลักษณะอาการที่ผู้ป่วยเป็น

อยู่อย่างสะอาด

ในด้านญาติผู้ดูแลก็ควรมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน ระวังความเสี่ยงในนำพาเชื้อไปติดผู้ป่วย ควรชำระล้างร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ ผู้ที่เดินทางมาเยี่ยมก็ไม่ควรผ่านที่สาธารณะที่อาจนำพาเชื้อโรคมาติดผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ผู้ที่เพิ่งฉีดวัคซีนประเภทที่เป็นเชื้อยังมีชีวิต ควรเว้นระยะเวลาราว 2-3 อาทิตย์ ให้เชื้อที่ฉีดเจือจางก่อนจึงค่อยมาดูแลหรือใกล้ชิดผู้ป่วย มิเช่นนั้นอาจนำเชื้อไปติดผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะเชื้อที่ติดผ่านทางเดินหายใจ

ดูแลความสะอาด ระวังเชื้อโรค

ผู้ที่เพิ่งฉีดวัคซีนประเภทที่เชื้อยังมีชีวิต ควรเว้นระยะเวลาราว 2-3 อาทิตย์ ให้เชื้อที่ฉีดเจือจางก่อนจึงค่อยมาดูแลหรือใกล้ชิดผู้ป่วย

หลับให้มีคุณภาพ

การพักผ่อนนอนหลับก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรจัดสรรเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หลับให้ลึก ภูมิคุ้มกันจะแข็งแรงขึ้น

การดูแลจิตใจ และเสริมสร้างกำลังใจ

ผ่อนคลาย ไม่เครียด

ร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างไม่อาจแยกขาด ผู้ป่วยควรดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด แม้จะเป็นมะเร็งแต่ก็ควรค่อยๆ ตั้งหลักยอมรับความเป็นจริง แล้วตั้งสติว่าจะทำอย่างไรต่อ รับฟัง ปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแล ปฏิบัติตามคำแนะนำและมีวินัยในการดูแลตัวเองอยู่เสมอ

ค่อยๆ ตั้งหลักยอมรับความเป็นจริง แล้วตั้งสติว่าจะทำอย่างไรต่อ รับฟัง ปรึกษาแพทย์ มีวินัยในการดูแลตัวเองสม่ำเสมอ

ทำด้วยความผ่อนคลาย (ค่อยๆ ใส่ศิลปะในหัวใจแล้วจะผ่อนคลายขึ้น)

กำลังใจ ให้กันและกัน

กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและคนรอบตัว เพราะจะช่วยให้ส่งผลดีต่อทั้งจิตใจและการรักษา กำลังใจของตัวเราและคนรอบข้างส่งผลถึงกันและกัน นอกจากการได้รับกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้างจะช่วยผู้ป่วยแล้ว การที่ผู้ป่วยดูแลตัวเองดี มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น ก็จะช่วยให้คนรอบข้างมีกำลังใจที่ดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

กำลังใจของตัวเราและคนรอบข้างส่งผลถึงกันและกัน

สร้างความหมายในการมีชีวิตอยู่ต่อ

กำลังใจที่ดีเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการรักษามาก การที่ผู้ป่วยยังมีเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลที่ดีได้มาก หากผู้ป่วยไม่สามารถสร้างกำลังใจได้ด้วยตัวเอง ญาติผู้ดูแลควรพยายามหาจุดที่จะช่วยดึงจิตใจผู้ป่วยไว้ได้ เพื่อสร้างความหมายในการมีชีวิตอยู่ต่อ และมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคต่อไป โดยอาจเป็นเรื่องง่ายๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวันที่สร้างความสุขก็ได้ เช่น การทานอาหารที่ชอบ ทำกิจกรรมที่สนใจ เป็นต้น เพราะเป้าหมายและความหมายในการดำเนินชีวิตต่อ เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การรักษาเป็นไปได้อย่างดี

กิจกรรมที่ช่วยสร้างความหมายในทำอะชีวิต เพิ่มกำลังใจ ทำอะไรได้บ้างนะ

ทำสมาธิ เพิ่มภูมิคุ้มกัน

คนที่ทำสมาธิเป็นประจำมาตรวจพบว่าเม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำสมาธิ

ส่งผลทำให้มีภูมิต้านทานที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสให้หายจากโรค และอาการดีขึ้นได้

การทำสมาธิก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยได้มาก มีงานวิจัยที่ทดลองเจาะเลือดจากคนที่ทำสมาธิเป็นประจำมาตรวจพบว่าเม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำสมาธิ ซึ่งส่งผลทำให้มีภูมิต้านทานที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสให้หายจากโรค และอาการดีขึ้นได้

เมื่อเรามีวินัยในการดูแลตัวเอง ผลการรักษาก็จะดีขึ้น และกลับมาเสริมเป็นกำลังใจที่ดีให้กับตัวเราได้ต่อไป

การดูแลร่างกายเป็นหน้าที่ของคุณหมอ ส่วนจิตใจในการดูแลต่อสู้กับโรคนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำเอง เมื่อประกอบกันสองด้านแล้วก็จะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้นได้

รศ.พอ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล

การบำรุงเม็ดเลือดขาว

ผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาโดยเคมีบำบัด หรือฉายแสง ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลายในปริมาณรุนแรงมาก การบำรุงเม็ดเลือดขาวด้วยอาหารอาจช่วยได้ไม่มากนัก โดยทั่วไปเม็ดเลือดขาวจะฟื้นตัวได้ด้วยปัจจัย 2 อย่างคือ

  1. ฟื้นด้วยตัวเอง หลังจากที่ภูมิโดนกดทำลายจากการรักษามากๆ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะฟื้นตัวกลับขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
  2. ใช้ยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด แต่ก็อาจไม่ได้ผลเสมอไป เพราะฤทธิ์จากการรับยาเคมีบำบัดและฉายแสงมีมากเกินไป

การดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ทั้งการทานอาหาร ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อน และดูแลตัวเองในด้านอื่นๆ ของชีวิตอย่างสมดุล


ทำความเข้าใจมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มเติมได้ที่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สรุปเนื้อหา และรับชม Live ย้อนหลัง

📖 สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม

🎥 รับชม Live ย้อนหลังของบทความนี้

จากโครงการ Thai Cancer Academy
ตอน รู้จัก รับมือ รักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (CCL)

โดย รศ.นพ. เอกพันธ์ ครุพงศ์
รศ.พอ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล
พร้อมด้วยผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และผู้ป่วยมะเร็ง CLL

-+=