มะเร็งปอด

“มะเร็งปอด ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด” เป็นประโยคที่หมอมักจะบอกผู้ป่วยของหมอทุกคนในวันที่เราพบกันครั้งแรก และผู้ป่วยที่เพิ่งทราบว่ามีเซลล์มะเร็งปอดอยู่ในร่างกาย ทําไมหมอถึงได้บอกแบบนี้กับผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเพื่อให้กําลังใจกับผู้ป่วย อีกส่วนหนึ่ง คือ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะว่าในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ต้องบอกว่ามีวิวัฒนาการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น และระยะแพร่กระจาย ซึ่งมีอะไรบ้างนั้นผู้อ่านจะเข้าใจมากขึ้น รวมไปถึงการดูแลตนเองในระหว่างการรักษา ทั้งในแง่มุมของผู้รักษาและผู้ป่วย

เริ่มรู้จักกัน

มะเร็งปอดมีต้นกำเนิดจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดได้รับการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน จึงเรียกชื่อตามต้นกำเนิดของมะเร็งได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bronchogenic Carcinoma (Broncho แปลว่า หลอดลม Carcinoma แปลว่า มะเร็ง) ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้ขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็กๆ ส่วนปลายที่ไกลออกไปจากขั้วปอดก็ได้

หากตรวจพบมะเร็งปิดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี และด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งปอดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย

โดยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอแบบมีเสมหะปนเลือด เหนื่อย หายใจไม่สะดวก นํ้าหนักลดมากในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น ผู้ป่วยบางคนอาจจะมาด้วยอาการทางระบบประสาท ถ้าเซลล์มะเร็งปอดแพร่กระจายไปอยู่ที่สมองหรือไขกระดูกสันหลัง เช่น อาการแขนขาอ่อนแรง ชา กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรือบางคนมีอาการปวดกระดูกมาก ถ้าเซลล์มะเร็งปอดนั้นแพร่กระจายไปอยู่ที่กระดูก เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงและการปฏิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลจากมะเร็งปอด

  1. บุหรี่ ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีสาเหตุจากบุหรี่
    • เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
    • ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรงมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบมากกว่า 10 เท่า ส่วนผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่จำเป็นต้องสูดควันบุหรี่จากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือในบริเวณอับที่มีควันบุหรี่อยู่ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
    • หากผู้ที่สูบบุหรี่จัดหยุดสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลดลงเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลา 10 ปี จะลดลงได้เท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
    • เนื่องจากในบุหรี่มีสารพิษนิโคติน  ทาร์  และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ
  2. สารพิษ และมลภาวะ อยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะมาก เช่น
    • สารแอสเบสตอสหรือแร่ใยหิน (Asbestos) ซึ่งใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ฉนวนกันความร้อน การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งปอดได้มากขึ้นถึง 5 เท่า และอาจเกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่า
    • ฝุ่น รวมถึง PM2.5 ซึ่งหมายถึง ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และ PM1.0 ด้วย
    • NOx เป็นสารก่อมะเร็งที่ลอยอยู่ในอากาศ เกิดจากการสันดาปเครื่องยนต์ดีเซลที่สกปรกแทบจะล้วนๆ เครื่องฟอกอากาศก็ไม่ช่วย
    • สัมผัสสารเคมีบางชนิดในระบบทางเดินหายใจ เช่น สารกัมมันตภาพรังสี แก๊สเรดอน (Radon) ถ่านหิน น้ํามันปิโตเลียม สารหนู นิกเกิล โครเมียม เป็นต้น
    • ลงชื่อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทวงสิทธิ์ที่จะหายใจอากาศบริสุทธิ์ที่ https://thailandcan.org/ เพื่อลดโอกาสที่เราจะหายใจเอาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 / PM1.0 และ NOx ได้
  3. โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรค หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป
  4. รังสี การได้รับการฉายรังสีบริเวณปอด และรังสีเรดอน ซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสี ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในใยหินกระจายอยู่ในอากาศและน้ำใต้ดินในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้
  5. ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น อายุเพิ่มขึ้น การใช้ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างกรรมพันธุ์กับการเกิดมะเร็งปอดยังไม่มีความชัดเจนนัก

ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรงมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบมากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำก็เพิ่มความเสี่ยง 

การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลงได้เรื่อยๆ แม้ว่าอาจใช้เวลา 10 ปี ถึงจะลดลงได้เท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่เลิกเลยก็ลดความเสี่ยงได้เลยทั้งต่อตัวคุณเองและคนใกล้ตัว

ทำอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็งปอด

  1. หยุดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่ที่มีฝุ่นควันมาก หรือหากทำงานบริเวณเหมืองแร่ก็ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือ PM2.5 โดยสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปภายนอกอาคาร หากทำงานในเหมืองแร่ก็ใส่เครื่องมือป้องกันตนเองช่วย
  3. อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
  4. ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ออกกำลังกาย
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

อากาศดี อาหารดี ออกกำลังกายดี ตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

เข้าใจมะเร็งปอดเพิ่มเติม

Know More about Lung Cancer

คลิกที่แต่ละหัวข้อเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

ชนิด ระยะ และอาการ

มะเร็งปอดแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ ชนิดเซลล์เล็ก และเซลล์ไม่เล็ก

ชนิดเซลล์ไม่เล็กจะรักษาง่ายกว่า ส่วนชนิดเซลล์ไม่เล็กจะแพร่กระจายได้รวดเร็ว

หากมีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ ควรรีบมาพบแพทย์

แนวทางตรวจวินิจฉัย

ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพทุกปี นอนหลับพักผ่อน อาหารดี ออกกำลังกาย

อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงมลภาวะและสารเคมี บุหรี่ ฝุ่น สารเคมี รังสี เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ห่างไกลจากมะเร็งปอด

แนวทางการรักษา

นอกจากการผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด ยังมีการรักษาด้วยยามุ่งเป้าที่จัดการกับประเภทที่ยีนกลายพันธุ์ได้

และภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งเป็นการเสริมภูมิให้แข็งแรง เพื่อไปจัดการกับเซลล์มะเร็ง

ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาตามชนิด ระยะ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมที่สุด

มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้

ผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัว จะต้องตั้งสติ ทำใจยอมรับความเป็นจริงให้ได้ มีกำลังใจ และมีความรักที่จะทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน

เข้าใจความเปลี่ยนแปลง • หยุดนิ่งพัก • ออกแรงออกกำลังกาย • ใส่ใจคุณค่าอาหาร • เบิกบานต้านซึมเศร้า • ปลุกเร้ามิตรภาพ

อาการของโรคมะเร็งปอด

  1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
    • ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
    • ไอเป็นเลือด
    • หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม หรือเกิดจากภาวะน้ําที่จมปอดได้
    • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
    • หายใจติดขัด มีเสียงดังในลำคอ
    • ปอดอักเสบ มีไข้
  2. อาการของระบบอื่นๆ ได้แก่
    • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ
    • บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบน เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง จากการลุกลามของมะเร็งไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ของทรวงอก
    • เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
    • ปวดบริเวณต้นคอร้าวไปยังแขน
    • ปวดกระดูก
    • กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
    • อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
    • มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

แต่อาการทั้งในระบบทางเดินหายใจและระบบอื่นๆ เหล่านี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ได้ ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์

โดยทั่วไปแล้วมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
  • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ไอมีเลือดปน
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

มะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย ก็เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง เหมือนโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน

ถ้ามีอาการมากก็เพิ่ม หรือเปลี่ยนยา
อาการน้อยก็ลด หรือหยุดยาได้

การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การหยุดสูบบุหรี่เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วย

ที่สำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการรักษาในแผนปัจจุบันอย่างถูกต้องและทันเวลา เพื่อลดอาการ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอด

  1. การตรวจคัดกรองในผู้มีความเสี่ยง ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low – Dose Computerized Tomography : LDCT) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดผู้ป่วยสูงอายุ โรคปอดเรื้อรังและมีญาติเป็นมะเร็งหลายคน ซึ่งช่วยในการตรวจพบจุดหรือก้อนมะเร็งปอดขนาดเล็กๆ ที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการเอกชเรย์ปอดแบบธรรมดา โดยผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตรวจ
  2. การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษโดยแพทย์ มีหลายวิธีดังนี้
    • เอกซเรย์ปอด (X-Ray)
    • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
    • การตรวจด้วยเครื่องเพท/ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
    • การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy) และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
    • การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy)
    • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ (CT-Guided Biopsy) เป็นต้น

ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และสามารถแยกชนิดของมะเร็งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด หรือเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายที่ปอด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการรักษาจำเพาะต่อไป

การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำสามารถตรวจพบความผิดปกติในเบื้องต้นได้จากการเอกซเรย์ปอด เช่น หากพบว่าเริ่มมีก้อนหรือจุดในปอด สามารถตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมได้ ซึ่งหากพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถหายขาดได้ แต่หากปล่อยให้ก้อนหรือจุดในปอดโตขึ้น มะเร็งจะลุกลามยากต่อการรักษาได้

ข้อมูลบางที่ก็บอกว่าปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์เพียงพอที่จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์ปอดหรือตรวจเสมหะหาเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามมีหลักฐานพบว่า การตรวจทั้ง 3 วิธีดังกล่าวช่วยค้นพบมะเร็งระยะต้นได้มากกว่าประชากรที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง แต่การตรวจพบมะเร็งปอดระยะต้นด้วยวิธีดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยให้ประชากรกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรอง มีอายุยาวนานกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรอง ผู้รับการตรวจควรได้รับทราบถึงความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) และค่าใช้จ่ายที่ตามมาหลังจากได้รับการตรวจคัดกรอง แพทย์ประจำตัวท่านสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดและความจำเป็นของท่านในการรับการตรวจคัดกรอง

โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด

มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer)

โรคมักจะลุกลามและกระจายออกนอกเนื้อปอดได้อย่างรวดเร็ว มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 10 – 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด มักมีการดำเนินโรคเร็ว เนื่องจากเป็นชนิดที่แพร่กระจายเร็ว มะเร็งชนิดนี้อาจสร้างสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกาย มะเร็งปอดชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่โอกาสหายขาดยังเป็นไปได้น้อย ไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดเนื่องจากโรคมีการลุกลามค่อนข้างมากเมื่อเริ่มตรวจพบ

มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer)

มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 75 – 90 ของมะเร็งปอดทั้งหมดมักมีการดำเนินโรคที่ช้ากว่า มีโอกาสตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก หากพบในระยะแรกขั้นตอนของการรักษาหลัก คือ การผ่าตัดเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองออก บางรายอาจให้การรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา หรือการรักษาเสริมอื่นๆ ผลการรักษาดีกว่าชนิดเซลล์เล็ก มีโอกาสหายขาดได้

มะเร็งปอด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ชนิด

ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น squamous cell carcinoma, adenocarcinoma และอื่นๆ กลุ่มที่เป็น adenocarcinoma นั้น ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้น และมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก

ในสมัยก่อนนั้นการวินิจฉัยมะเร็งปอดทํา ได้ยาก แต่พอเข้าสู่ยุคที่มีการทําสแกนคอมพิวเตอร์(CT scan), การสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI), และล่าสุดการสแกนด้วย PET scan รวมถึงเทคนิคต่างๆ ของการส่องกล้องทางหลอดลม และการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยเซลล์มะเร็งปอดนั้นให้ทันสมัยขึ้น ทํา ให้เราสามารถวินิจฉัยได้รวดเร็วเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติซึ่งอาการต่างๆ เหล่านั้นแล้วแต่ว่าตัวเซลล์มะเร็งปอดนั้นอยู่ที่ตําแหน่งไหนในร่างกายเรา

ระยะของโรคมะเร็งปอด

  1. ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    • ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
    • ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
  2. ระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
    • ระยะที่ 1 ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร
    • ระยะที่ 2 มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอดหรือที่อยู่ใกล้ๆ กับก้อนมะเร็ง โดยก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร
    • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ ในข้างเดียวกัน หรือไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระบังลม และเยื่อหุ้มปอด
    • ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกเนื้อปอด ไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดกับการผ่าตัด

การผ่าตัด

มีบทบาทสําคัญในกระบวนการรักษาโรคมะเร็งปอด ทั้งในด้านการให้การวินิจฉัย การรักษา และการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็ง

การวินิจฉัย

เมื่อผู้ตรวจพบความผิดปกติของภาพถ่ายรังสีที่สงสัยว่าอาจเกิดจากมะเร็ง ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องได้รับการพิสูจน์ชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันคํา วินิจฉัยโดยอาจกระทํา ได้ด้วยการใช้เข็มเจาะตรวจชิ้นเนื้อจากผนังทรวงอก หรือการส่องกล้องทางเดินหายใจ เพื่อตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ในกรณีที่หัตถการทั้งสองอย่างนั้นทํา ไม่ได้ เช่น ก้อนเนื้องอกอยู่ลึก อยู่ในตํา แหน่งที่เสี่ยง อันตราย หรือทํา ไปแล้วแต่ไม่สามารถให้การวิจฉัยได้เพราะชิ้นเนื้อที่ตัดออกมามีขนาดเล็กเกินไป การผ่าตัดทรวงอกเพื่อการวินิจฉัยสามารถทํา ได้ โดยมีแผลผ่าตัดแผลเล็กๆ บนทรวงอก ตัดเนื้อปอดพร้อมทั้งก้อนเนื้องอกออกมาเป็นรูปลิ่ม วิธีนี้สามารถให้คํา วินิจฉัยได้ถูกต้อง แม่นยํา เพราะได้ชิ้นเนื้อขนาดใหญ่

การตัดชิ้นเนื้อมีความเสี่ยงที่จะทำให้ปอดแฟบได้ อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดในภายหลัง

แม้วิทยาการทางการแพทย์จะช่วยรักษาโรคมะเร็งปอดได้   แต่ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการหยุดสูบบุหรี่จะดีกว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลกลุ่มนี้จะสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ แต่อัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดยังสูงอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ในอดีต ซึ่งความเสี่ยงนี้จะลดลงเป็นปกติหลังหยุดสูบบุหรี่แล้ว 10 ปี ดังนั้นการรณรงค์ให้มีการตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่มีความผิดปกติทางการหายใจ เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอจนเป็นเลือด จะทำให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มได้ ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

แนวทางการรักษามะเร็งปอด

ยาและแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบัน การตรวจและการรักษาโรคมะเร็งปอดมีความก้าวหน้าอย่างมาก  ดังเช่น

1. การวินิจฉัยในระยะแรกเริ่ม

ด้วยการตรวจเอกซเรย์ปอดและเสมหะเพื่อหาเซลล์มะเร็งในผู้ที่มีความเสี่ยง   แม้จะไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่หากพบโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่มจะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีกว่า  นอกจากนี้ยังมีความพยายามใช้การเอกซเรย์ที่มีความละเอียดสูงร่วมกับการย้อมเสมหะ ด้วยวิธีพิเศษ ทำให้เห็นเซลล์ผิดปกติได้ง่ายขึ้น ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีราคาค่าตรวจที่สูง

2. การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง

เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งที่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ขั้วปอด หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย  ช่วยให้เนื้อปอดบริเวณโดยรอบไม่ถูกทำลาย  บาดแผลเล็ก   และผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว

3. ยาเคมีบำบัด

มีการค้นพบยาชนิดใหม่ ๆ ที่มีผลข้างเคียงน้อยลงและได้ผลต่อโรคมากขึ้น รวมถึงการคิดค้นยาเคมีบำบัดชนิดเม็ด  ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกมากขึ้น

4. การฉายรังสี

ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคการฉายรังสีที่ทำให้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีในขนาดที่สูงขึ้น โดยที่อวัยวะรอบข้างไม่ได้รับผลกระทบจากรังสีชนิดนั้น ๆ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีขึ้น เพราะผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียง

5. การรักษาแบบประคับประคอง

เป็นวิธีที่พยายามช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติที่สุด โดยอาศัยการควบคุมอาการต่าง ๆ ของโรค เช่น อาการเหนื่อย  ไอ  จนถึงขั้นไอเป็นเลือด ซึ่งทำได้โดยการดูแลสุขภาพพื้นฐานให้ดีที่สุด

โรคในระยะที่ 1 และ 2 การผ่าตัดเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุด

โรคในระยะที่ 3 การผ่าตัดอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องใช้รังสีรักษาและยาเคมีบําบัดร่วมด้วย

โรคในระยะที่ 4 การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการไม่ให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมาน การฉายแสงส่วนใหญ่ทําเพื่อลดอาการเจ็บปวด และทําลายมะเร็งที่มีการกระจายไป สมอง การให้ยาเคมีบําบัดอาจทําให้ก้อนมะเร็งในผู้ป่วยบางรายยุบขนาดเล็กลง ซึ่ง อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนนานมากขึ้น

แม้วิทยาการทางการแพทย์จะช่วยรักษาโรคมะเร็งปอดได้   แต่ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการหยุดสูบบุหรี่จะดีกว่า

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบุคคลกลุ่มนี้จะสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ แต่อัตราการเกิดโรคมะเร็งปอดยังสูงอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ในอดีต ซึ่งความเสี่ยงนี้จะลดลงเป็นปกติหลังหยุดสูบบุหรี่แล้ว 10 ปี

ดังนั้นการตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่มีความผิดปกติทางการหายใจ เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอจนเป็นเลือด จะทำให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอดในระยะแรกเริ่มได้ ซึ่งจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

รศ.นพ.แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

การรักษา

ในโรคมะเร็งปอดระยะที่ 1, 2 และในบางกรณีของระยะที่ 3 นั้น การผ่าตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกทั้งกลีบ รวมทั้งการตัดต่อมน้ำเหลืองในช่องทรวงอก สามารถช่วยให้มีผลการรักษาที่ดีขึ้น อัตราการรอดชีวิตยาวนานขึ้น

การแก้ไขภาวะแทรกซ้อน

โรคมะเร็งปอดนั้น อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้นได้ เช่น การไอเป็นเลือดรุนแรง การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ฝีในปอด ปอดแตก หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด

ชนิดของการผ่าตัด

ตัดปอดแบบลิ่ม (wedge resection) เป็นการตัดเนื้องอกพร้อมกับเนื้อปอดข้างเคียงออกเป็นรูปลิ่ม

  • ตัดปอดทั้งกลีบ (lobectomy) เป็นการตัดปอดที่มีเนื้องอกออกทั้งกลีบ
  • ตัดปอดทั้งข้าง (pneumonectomy) เป็นการผ่าตัดปอดออกทั้งข้าง

ชนิดของแผลผ่าตัด

แผลผ่าตัดแบบมาตรฐาน (standard thoracotomy) แผลผ่าตัดยาวประมาณ 20-25 ซม. บริเวณด้านหลังใต้กระดูกสะบัก
ยาวไปตามช่องซี่โครงอ้อมไปด้านหน้าใต้ราวนม เป็นแผลมาตรฐานที่สามารถผ่าตัดปอดได้ทุกชนิด ใช้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ กดเบียดอวัยวะข้างเคียงที่สําคัญ หรือมีพังผืดในช่องปอดมากๆ

ผ่าตัดปอดแผลเล็ก โดยใช้กล้องวิดิทัศน์ช่วยผ่าตัด (Video-assisted thoracoscopic surgery; VATS) แผลผ่าตัดขนาดเล็ก ยาวประมาณ 3-10 ซม. และมีรูเล็กๆ ขนาด 1 ซม. อีก 1-3 รู เพื่อใส่กล้องและอุปกรณ์ช่วยผ่าตัด เลือกใช้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่กดเบียดอวัยวะข้างเคียง ช่วยให้ปวดแผลน้อยลง ผู้ป่วยฟื้นตัวไวขึ้น หลีกเลี่ยงแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ และผลการรักษามะเร็งไม่ต่างจากแผลมาตรฐาน

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีสามารถทนต่อการตัดปอดออกทั้งข้างได้ แต่ในรายที่สภาพร่างกายไม่แข็งแรง ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัดและคำนวนหาปริมาตรปอดที่สามารถตัดออกได้อย่างปลอดภัย

ผู้ป่วยควรได้รับการฝึกกายภาพบําบัด การฝึกไอ ฝึกหายใจ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด เพื่อช่วยให้การฟื้นตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น

การผ่าตัดปอดโดยส่วนใหญ่เสียเลือดไม่มากนัก แต่ในบางรายที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ อาจจำเป็นต้องได้รับเลือด 1-2 ยูนิต ดังนั้นผู้ป่วยควรเตรียมญาติมาบริจาคโลหิตไว้ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด เพื่อใช้หากจําเป็น

การนอนโรงพยาบาล และการพักฟื้นหลังผ่าตัด

  • ผู้ป่วยต้องเข้านอนโรงพยาบาลก่อนผ่าตัด 1 วัน เพื่อเตรียมตัว
  • งดอาหารและนํ้าดื่ม 8 ชม. ก่อนดมยาสลบ
  • การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชม.

หลังผ่าตัด

  • จะมีสายระบายทรวงอกเพื่อใช้ระบายนํ้า เลือด และลม ที่อาจมีรั่วซึมออกมาหลังผ่าตัดได้
  • พักฟื้นในโรงพยาบาลต่ออีก 2-5 วัน ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
  • หลังจากพักฟื้นควรหลีกเลี่ยงการออกแรงหนัก 4-6 สัปดาห์
  • แล้วผู้ป่วยจะสามารถกลับมาทํากิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติดังเดิม

ผ่าตัดเจ็บหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน?

แผลผ่าตัดบริเวณทรวงอกนั้น ต้องขยับเขยื้อนระหว่างการหายใจตลอดเวลา ดังนั้น จึงเจ็บกว่าแผลผ่าตัดบริเวณ
อื่นๆ ของร่างกาย แต่หากสามารถเลือกใช้การผ่าตัดแผลเล็กได้ร่วมกับการใช้เครื่องบริหารยาระงับปวดด้วยตนเอง (PCA)
หรือการฉีดยาชาในช่องเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นนอก (Epidural block) ก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดีและช่วยให้
ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ความเสี่ยงในการผ่าตัด ต้องประเมินตามสภาพร่างกาย ขนาด และตํา แหน่งของเนื้องอก ปริมาตรของเนื้อปอดที่
เหลืออยู่หลังผ่าตัดของผู้ป่วยแต่ละคนเป็นรายๆ ไป โดยทั่วไปอัตราการตายต่ำกว่า 1 ใน 100

การผ่าตัดปอดเพื่อรักษามะเร็งนั้น ไม่ได้น่ากลัวหรืออันตรายอย่างที่หลายคนกังวล อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงใน
การรักษามะเร็งปอดระยะต้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและกลับไปมีชีวิตที่ปกติดังเดิมได้อย่างรวดเร็ว

รังสีรักษาในมะเร็งปอด

เรียบเรียงและเขียนโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธิติ สว่างศิลป์
หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

รังสีรักษา (ฉายรังสี, ฉายแสง)

เป็นการนํารังสีพลังงานสูงมาใช้ในการรักษามะเร็ง ซึ่งอาจทำลาย หรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง

กรณีของมะเร็งปอด

รังสีรักษาสามารถใช้สำหรับโรคระยะแรกที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดสำหรับโรคระยะลุกลามเฉพาะที่ หรือเป็นการรักษาเสริมเพื่อเพิ่มผลการควบคุมโรคร่วมกับวิธีรักษาอื่นๆ หรือใช้รักษาบรรเทาอาการสำหรับโรคในระยะลุกลาม หรือแพร่กระจาย

เทคนิคทางรังสีรักษาในปัจจุบัน

มีการพัฒนาเป็นรูปแบบของการฉายรังสีแบบ 3 มิติซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนรักษา เพื่อให้ทิศทางและปริมาณรังสีมีความเหมาะสมถูกต้องที่ตำแหน่งโรคมะเร็ง และลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติให้ได้มากที่สุดเพื่อลดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเข้าใจและร่วมมือในระหว่างการฉายรังสีดีอาจใช้รูปแบบการฉายรังสีแบบ 4 มิติเพื่อฉายรังสีตามรูปแบบการหายใจที่สม่ำสมอของผู้ป่วยได้

ผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา

จะได้รับการบอกเล่าทำความเข้าใจถึงวิธีการรักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียง การปฏิบัติตัว และดูแลตนเองตั้งแต่ก่อน ระหว่าง รวมถึงหลังการรักษาด้วยรังสีรักษาเสร็จสิ้น เพื่อให้ได้รับทราบข้อดีหรือข้อเสีย รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรังสีรักษา โดยส่วนใหญ่จะให้บุคคลในครอบครัวได้ร่วมรับทราบข้อมูลไปพร้อมกัน เพื่อประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่

ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่

ขั้นตอนทั่วไปของผู้ป่วยที่มารับรังสีรักษา

  • นัดตรวจวางแผนด้วยคอมพิวเตอร์สแกน (CT scan) ก่อน
  • แล้ววางแผนการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงจะนัดผู้ป่วยมาจําลองการฉายรังสี (Simulator) โดยใช้แผนการรักษาที่ได้จากคอมพิวเตอร์มาใช้กับตัวผู้ป่วยจริง
  • เริ่มขั้นตอนการฉายรังสีจริงในห้องฉายรังสี
    • ซึ่งการฉายรังสีแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเทคนิคและแผนทางรังสีที่ใช้
    • โดยทั่วไปอาจใช้เวลา 10-15 นาทีต่อครั้ง อาจไม่เกิน 30 นาทีละ 1 ครั้ง
    • ใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ โดยเวลาทั้งหมดมีได้ตั้งแต่ 4 ถึง 7 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะโรคของผู้ป่วย
    • ส่วนกรณีการฉายรังสีด้วยเทคนิคพิเศษมากๆ เช่น เครื่อง CyberKnife® จะใช้เวลาต่างไป
    • สําหรับรอยโรคขนาดไม่ใหญ่มาก ระยะเวลาเตรียมการ และวางแผนการรักษาอาจใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ และการฉายรังสีแต่ละครั้งอาจใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง แต่ระยะเวลารักษาจะสั้นลงไม่เกิน 5 วัน

โดยทั่วไปอาจใช้เวลา 10-15 นาทีต่อครั้ง อาจไม่เกิน 30 นาที วันละ 1 ครั้ง ใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ โดยเวลาทั้งหมดมีได้ตั้งแต่ 4 ถึง 7 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะโรคของผู้ป่วย


เทคนิคทางรังสีรักษาดังกล่าวมาแล้ว

มีความเหมาะสมกับสภาวะโรคและผู้ป่วยแตกต่างกันไป ทั้งนี้แพทย์ผู้รักษา
จะเป็นผู้พิจารณาวิธีที่ผู้ป่วยจะได้ประโยชน์สูงสุด

ผลข้างเคียง และการดูแลตนเองเมื่อได้รับรังสีรักษา

ระหว่างฉายรังสี

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับคํา แนะนํา ในการดูแลไม่ให้เกิดแผลบริเวณผิวหนังที่ฉายรังสีรับประทานอาหาร
และนํ้าที่สุกสะอาด การดื่มนํ้ามากๆ จะช่วยลดการอักเสบในบริเวณปาก ลํา คอ ทรวงอก สามารถลดหรือชะลออาการเจ็บ
ปาก คอ หรือไอได้ มีการสอนและอบรมกลุ่มผู้ป่วยโดยพยาบาลเป็นระยะ และสามารถสอบถามแพทย์ผู้รักษาหรือพยาบาล
ได้ตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัย

หลังฉายรังสีจบในช่วง 3-4 สัปดาห์แรก

ผู้ป่วยจะดูแลตนเองเสมือนช่วงฉายรังสีหลังจากนั้น ผลข้างเคียงที่เหลือ
อยู่จะเป็นเนื้อเยื่อพังผืดบริเวณที่ฉายรังสีซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรบกวนชีวิตของผู้ป่วย ส่วนอวัยวะที่มีความสํา คัญมาก
เช่น หัวใจ ไขสันหลัง การวางแผนทางรังสีรักษาจะจํา กัดปริมาณรังสีให้อยู่ในระดับปลอดภัยและไม่เกิดอันตรายอยู่แล้ว หลัง
การรักษาเสร็จสิ้น แพทย์ผู้รักษาจะยังนัดตรวจติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ ซึ่งสามารถดูแล ให้คํา แนะนํา หรือแก้ไขผลข้างเคียง
ที่ผู้ป่วยประสบอยู่ หรือมีข้อสงสัยได้

แนวทางสร้างคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด และผู้ดูแล

………..

การดูแลตัวเองภายหลังการรักษา

  • เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
  • พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและป้องกันการเกิดมะเร็งที่อวัยวะอื่นด้วย

การติดตามผลการรักษา

ควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงสุด หลังจากนั้นตรวจทุก 6 เดือน

ผู้ป่วยหลังการรักษาจะได้รับการติดตามโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อดูแลสุขภาพต่อไปการตรวจติด ตามผลจะถี่หรือบ่อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยปกติหลังการรักษาควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน ใน 2 ปีแรกซึ่งมีโอกาสกลับเป็นซ้ำสูงสุด จากนั้นตรวจทุก 6 เดือน การติดตามผลโดยปกติจะใช้การติดตามอาการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน ตรวจเลือดเพื่อหาสารติดตามผลมะเร็ง เอกซเรย์ และอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาระยะเวลาตามความเหมาะสม.

Reference

  1. หนังสือ จริงหรือไม่ มะเร็งปอดไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ยุค 2020
    เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. มะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/621/Lungcancer
  3. โรคมะเร็งปอด, https://www.roche.co.th/th/disease-areas/lung-cancer.html
  4. มะเร็ง สาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยมากว่า 20 ปี, https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/115649
  5. คณะแพทยศาสตร์ 4 สถาบันเสนอนโยบายสู้มะเร็งที่ถูกต้องลดการเสียชีวิต, https://www.posttoday.com/pr/597295
  6. อัตราการตายโรคมะเร็งปอด, https://www.hiso.or.th/hiso/visualize/Index.php?links=v235
  7. 5 วิธีการรักษามะเร็ง, http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/231
  8. การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=40
  9. วันงดสูบบุหรี่โลก จะสูดหรือดูดก็เสี่ยงมะเร็งปอด https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=968
  10. มะเร็งปอด, สถานวิทยามะเร็งศิริราช https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/cancer/knowledgedetail.php?sub=lung
  11. Heim D et al. Int J Cancer 2014; 135: 2362–2369
  12. Baumgart M et al. Am J Hematol Oncol 2015: 11: 10–13
  13. Schwaederle M, Kurzrock R. Oncoscience 2015; 2: 779–780. 

อยากรู้เกี่ยวกับมะเร็งปอดเพิ่มเติม
อ่านที่เอกสารข้างล่างนี้ได้เลย

ในเอกสารมีเนื้อหาดังนี้

  • อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในปัจจุบันทั่วโลก
    • การแบ่งประเภทของเซลล์มะเร็ง และสัดส่วนผู้ป่วย
  • อาการและพัฒนาการของโรค ส่งเสริมการพูดคุยเพื่อวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์
  • การตรวจวินิจฉัยในปัจจุบัน
  • การตรวจยีนกลายพันธุ์
  • ยาและแนวทางการรักษาปัจจุบัน
  • การดูแลตัวเองและโภชนาการของผู้ป่วยระหว่าง และหลังการรักษา
  • แนวทางสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอด

ฟังคุณหมอเล่าเรื่องมะเร็งปอด

มะเร็งปอดรักษาหายได้จริงหรือ ?

โดยหมอซัง พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

มะเร็งปอด ฉันจะมีชีวิตที่ดี | ต.ค. 58
ค้นหามะเร็งปอดระยะแรก

แนะนำ

LungAndMe

Lung And Me website

เว็บที่รวบรวมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปอดไว้อย่างครบครัน ทั้งการกิน ออกกำลังกาย การฝึกสติ อยู่ร่วมกับมะเร็งปอด การรักษา ช่วงโควิดควรทำอย่างไร รวมถึงประสบการณ์จากผู้ป่วยและแพทย์
-+=