8 เคล็ดลับ ใช้ชีวิตคล่องตัว แม้มีทวารเทียม
“ทวารเทียม” มาจากการผ่าตัดช่องเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง เพื่อเป็นช่องขับถ่ายอุจจาระ ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยหลายคนอาจกังวลว่าพอมีทวารเทียมแล้วจะใช้ชีวิตแบบปกติไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องกลิ่น การมีถุงรับของเสียที่หน้าท้อง การรักษาความสะอาด เป็นต้น
แต่ความจริงแล้ว ถ้าเรารู้วิธีดูแลตัวเองและฝึกจนคุ้นชิน
แม้จะมีทวารเทียม ก็สามารถใช้ชีวิตอย่างคล่องตัวได้ค่ะ
⭐ 8 เคล็ดลับใช้ชีวิตคล่องตัว แม้มีทวารเทียม ⭐
- ถ่ายของเสียออกเมื่อถึง 1 ส่วน 3 หรือครึ่งถุง
ซึ่งควรเปลี่ยนแผ่นป้องกันผิวหนังทุก 3-7 วัน หรือเปลี่ยนเมื่อมีอาการแสบคันบริเวณผิวหนังรอบทวารเทียม (แล้วแต่ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน) - พกถุงรองรับของเสียและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไปให้เพียงพอ เวลาเดินทางหรือไปทำงาน
- สวมเสื้อผ้าใส่สบาย ไม่รัดเกินไป
- เลี่ยงอาหารและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว หัวหอม น้ำอัดลม การใช้หลอดดูด
- เลี่ยงอาหารเพิ่มกลิ่น เช่น กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปี
- อาบน้ำผักบัวหรืออ่างอาบน้ำได้ปกติ โดยจะใส่ถุงรองรับของเสียหรือไม่ใส่ก็ได้
- โกนขนบริเวณตำแหน่งทวารเทียมให้สั้น ด้วยเครื่องโกนไฟฟ้าหรือกรรไกร เพื่อป้องกันรูขุมขนอักเสบและการหลุดรั่ว
- เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ตามปกติ (ยกเว้นกิจกรรมที่มีการกระทบกระทั่งและการยกของหนัก) หากว่ายน้ำ ควรตรวจสอบอายุการใช้งานของแป้นถุงรองรับของเสียก่อน ถ้าพบว่าใกล้หมดอายุก็ให้เปลี่ยนชิ้นใหม่อย่างน้อย 30 นาที และเทของเสียออกก่อนลงว่ายน้ำ
ปัจจุบัน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยทวารเทียมมีมากขึ้น ถุงรับของเสียถูกออกแบบให้แนบกับหน้าท้องได้ดี สังเกตเห็นได้ยาก ช่วยให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
หากเรามีความเข้าใจ เราก็จะปรับตัวกับทวารเทียม และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ 💙
แหล่งอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง. สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/…/downl…/121_49_1lg3rf5.pdf
ออสโตมี คลินิก งานการพยาบาลศัลยกรรม กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี. (2559). การดูแลตนเองเมื่อมีทวารใหม่ระบบทางเดินอาหาร. สืบค้นจาก http://www.rajavithi.go.th/…/cd1eb4bc7864844e1af652812e…