มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ Leukemia
มารู้จักมะเร็งเม็ดเลือดขาวกัน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ เรียกกันว่า “ลูคิเมีย” หรือ “ลิวคีเมีย” (Leukemia) เกิดจากแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนที่เติบโตผิดปกติเป็นจำนวนมาก ทำให้สะสมอยู่ในไขกระดูก แล้วออกมาในกระแสเลือด เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติไม่สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ จึงทำให้อวัยวะที่กำจัดเม็ดเลือดที่ผิดปกติ เช่น ตับ ม้าม ทำงานมากจนมีขนาดโตขึ้น
สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- กรรมพันธุ์ และโรคทางพันธุกรรม
- การได้รับกัมมันตรังสี หรือรักษีรักษาในปริมาณมาก
- การได้รับสารพิษ
- การติดเชื้อไวรัส
- การได้รับยาเคมีบำบัด
- การมีโรคทางโลหิตวิทยามาก่อน
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ทั้ง 2 ชนิด ยังแบ่งตามเซลล์ต้นกำเนิดได้เป็นสายของลิมฟอยด์และมัยอิลอยด์
- ชนิดเฉียบพลัน
- ชนิดเรื้อรัง
ชนิดเฉียบพลัน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว การแบ่งตัวจะไปรบกวนระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูก
จำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลัก
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia – AML) มะเร็งที่มีเม็ดเลือดไมอีลอดย์ที่ยังไม่โต มันเป็นประเภทที่ทั่วไปที่สุดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ใหญ่ อัตราการโตของเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะรวดเร็วและมีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดธรรมดาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ปกติแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการจํานวนเม็ดเลือดต่ำ (เช่น โลหิตจาง, การติดเชื้อเพราะจํานวนเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ, อาการเลือดออกมาผิดปกติเนื่องจากจํานวนเกล็ดเลือดต่ำ) เมื่อแสดงผล
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ (Acute Lymphoblastic Leukemia – ALL) มะเร็งของเซลล์ลิมฟอยด์ที่ยังไมโต่ มันมักเกิดขึ้นในเด็กและเป็นประเภทที่ทั่วไปที่สุดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก การแสดงผลคล้ายกันกับ AML
ชนิดเรื้อรัง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวอย่างผิดปกติ แต่ยังสามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ได้ ทำให้อาการของโรคค่อยเป็นค่อยไป โดยในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการ จนกระทั่งปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นมาก จนทำให้อ่อนเพลียหรือโลหิตจาง หรือไปสะสมในม้ามทำให้ม้ามโต ทำให้อืดท้องหรือคลำได้ก้อนในท้อง เป็นต้น
จำแนกได้เป็น 2 ชนิดหลัก
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia – CML) มะเร็งของเซลล์ไมอีลอยด์ที่โตแล้วที่เกี่ยวของกับฟิลาเดลเฟีย โครโมโซม เป็นมะเร็งที่เกิดกับผู้ใหญ่บ่อยที่สุด เซลล์มะเร็งโตในอัตราที่ช้า โรคในระยะเริ่มต้นอาจไม่ได้เกี่ยวของกับอาการต่าง ๆ ในระยะหลัง การขยายของม้ามโตอาจเพิ่มอาการปวดกับส่วนท้อง การผลิตเม็ดเลือดปกติอาจไดรับผลกระทบ และแสดงเป็นอาการข้างต้น
- มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมฟอยด์ (Chronic Lymphocytic Leukemia – CLL) ซึ่งเปนมะเร็งเม็ดเลือดขาวของเซลล์ลิมโฟไซติกที่โตแล้ว มันมักเกิดในผู้สูงอายุ(>60 ปี) มันแทบจะไม่เกิดกับเด็ก เซลล์มะเร็งเหล่านี้ดูได้หลัก ๆ จากอัตราการโตที่ช้า ปกติแล้ว โรคในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น
ปลูกถ่ายไขกระดูก วิทยาการใหม่ในการรักษา
ปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ในการรักษาด้วย “การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด” หรือที่เรียกว่า “การปลูกถ่ายไขกระดูก” เข้ามาใช้ ก็คือการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงแล้วตามด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้ไขกระดูกของคนอื่น
เวลาปลูกถ่าย คนให้ที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นพี่น้องที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน แต่ว่าพี่น้องพ่อแม่เดียวกันโอกาสที่จะเหมือนกันก็มีแค่ 25% เท่านั้นเอง
ถ้าบางคนไม่มีพี่น้องหรือเช็กแล้วว่าให้ไม่ได้ ไม่เข้ากัน ก็ต้องหาคนอื่น ตอนนี้มีอยู่ 2 ทางเลือก
หาจากผู้บริจาคประเทศไทย มีผู้บริจาคขึ้นทะเบียนที่สภากาชาดไทยดูว่าเข้ากันได้ก็เอามาใช้ สามารถใช้ญาติพี่น้องที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันแค่ครึ่งเดียวได้ ยกตัวอย่าง เช่น พ่อแม่ให้ลูก ลูกให้พ่อแม่ หรือพี่ให้น้องเป็นเทคนิคปัจจุบันที่สามารถปลูกถ่ายให้ประสบความสำเร็จได้
เพื่อนร่วมทาง..มะเร็งเม็ดเลือดขาว
Leukemia Community
Thailand Blood Cancer Supporter
ปฏิบัติการช่วยเหลือ
ผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือด
ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งโรคเลือด เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือดที่กำลังรักษา และต้องการบริจาคเลือด เกล็ดเลือด และสเต็มเซลล์
Facebook page & Website
โรคนางเอก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจ้ะ
Facebook group
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ลูคีเมีย
แลกเปลี่ยนศึกษาข้อมูล ให้กำลังใจกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และคนใกล้ชิด
Facebook group
MaxSmiles Thailand – กลุ่มกำลังใจแมกซ์สมายส์
ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งพบยาก
เผยแพร่ความรู้ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้กำลังใจ ภายในชมรมกันทุกเสาร์แรกของเดือน
เชิญชวนทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลนะคะ
Facebook page