10 วิธี รับมือกับอาการเบื่ออาหาร

10 วิธี รับมือกับอาการเบื่ออาหาร

  1. ถามผู้ป่วยว่าอยากรับประทานอะไร วิธีนี้อาจดูง่ายเกินไป แต่ผู้ป่วยจะได้รับประทานสิ่งที่ต้องการและรู้สึกอยาก
    จริงๆ มีโอกาสที่จะรับประทานได้มากขึ้นเพราะได้เลือกเอง นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความเอาใจใส่ของผู้ดูแลด้วย
  2. ทบทวนถึงอาหารที่ผู้ป่วยเคยชอบในอดีต อาจเป็นรายการอาหารจานโปรด ร้านอาหารโปรด ร้านขายอาหารหรือ
    ขนม อาจพาผู้ป่วยไปเลือกซื้อเอง หรือจดบันทึกไว้แล้วไปหาซื้อมาให้ก็ได้
  3. หากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อได้กลิ่นอาหารขณะประกอบอาหาร ก็ไม่ควรทําอาหารที่ส่งกลิ่นแรงในบ้าน
    ควรเลือกทําอาหารที่ไม่ส่งกลิ่นรุนแรง หรือไปเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมจากนอกบ้านมา ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด
    มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทั้งข้าว เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ผัก ควรปรุงหรือซื้อวันต่อวัน ไม่ให้รับประทานอาหารค้างคืน
    ข้ามวัน เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานร่างกายต่ำและมีโอกาสติดเชื้อง่าย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับคํา แนะนํา ให้รับประทาน
    ไข่ขาวอย่างน้อยวันละ 3 ฟอง ไข่ขาวเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ นำมาทำอาหารได้หลายชนิด
    • การปรุงอาหารเอง
      • มีข้อดีในเรื่องควบคุมความสุกและสะอาดได้กํา หนดวัตถุดิบที่ต้องการได้ตรงตามความต้องการ
      • แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เวลามาก และต้องระวังเรื่องกลิ่นอาหารในบ้าน
    • การซื้ออาหาร
      • มีข้อดีคือ สะดวก แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด ควรเลือกอาหารที่เป็นต้ม ผัด ร้อนๆ
        ไม่ควรเลือกยํา อาหารรสจัด หรืออาหารหมักดอง อาหารที่ซื้อมาอาจนํา มาปรุงใส่เนื้อสัตว์
        หรือไข่ขาว เพิ่มให้มากเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และหากซื้อมาเป็นเวลา
        นานจนอาหารเย็นลงต้องการอุ่นร้อนก่อนรับประทาน และควรอุ่นให้ร้อนทั่วถึงกันทั้งหมด
  4. เปลี่ยนบรรยากาศในการรับประทาน บรรยากาศนี้อาจเป็นที่บ้านเหมือนเดิม แต่เปลี่ยน
    ห้อง เปลี่ยนมุมที่นั่ง มีสมาชิกในครอบครัวมารับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยเล่าเรื่องกันอย่าง
    สนุกสนาน หรือออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ถ้าผู้ป่วยมีสภาพร่างกายพร้อมการรับประทาน
    อาหารนอกบ้าน ควรระวังในเรื่องความสะอาดของภาชนะ และหลีกเลี่ยงการรับประทานสิ่งที่ไม่
    แน่ใจในความสะอาด เช่น ผักสด ผลไม้สด นํ้าแข็ง นํ้าปั่น
  5. ผลไม้ ควรเลือกผลไม้มาปอกรับประทานเอง ไม่ควรซื้อผลไม้ตัดแต่ง หรือปอกขายตามรถเข็นหรือตู้ร้านค้า เพราะ
    ไม่สะอาดพอสําหรับผู้ป่วย ไม่ควรรับประทานผลไม้ทั้งเปลือก หากจะปั่นหรือคั้นน้ำผลไม้รับประทาน ควรเลือกผลไม้ล้าง
    ผลไม้ให้สะอาด และดูแลความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
  6. จดบันทึกความอร่อย การจดรวบรวมไว้ช่วยได้มาก อาจจดแยกเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน โดยบันทึกชนิด
    ของอาหารและสถานที่ซื้อไว้ด้วย เมื่อเวลาผ่านไปมาเปิดทบทวนดูเมนูที่ไม่ได้รับประทานนานแล้ว ก็อาจนํา กลับมาอร่อยอีก
    ครั้งได้การจดบันทึกต้องทํา เป็นประจํา และมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ตลอด เพราะการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปและสภาพ
    จิตใจที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการรักษา อาจทํา ให้ของที่เคยอร่อยกลายเป็นไม่อร่อย ของบางอย่างไม่น่าอร่อย กลายเป็นอร่อย
    ไปได้
  7. ไม่จำเป็นต้องรีบใช้ยากระตุ้นให้อยากอาหาร โดยเฉพาะในวันแรกๆ หลังจากให้เคมีบํา บัดผู้ป่วยจะรับประทานอาหาร
    ได้น้อยอยู่แล้ว ให้ผู้ป่วยกินทีละน้อยแต่บ่อยๆ วันต่อมาจะกินได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง แต่หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรให้
    ยาบรรเทาอาการ
  8. หากมีแผลในปาก หรือแสบปาก ควรรับประทานเยลลี่ ไอศกรีม หรือนํ้าผลไม้เย็นๆ เลือกที่สะอาด มีมาตรฐานการผลิตที่ดีหากอยากรับประทานนํ้าแข็งควรทํา นํ้าแข็งเองไม่ควรซื้อนํ้าแข็งมารับประทาน
  9. หากผู้ป่วยมีโรคประจําตัวอื่นๆ ควรคํานึงถึงอาหารที่เหมาะสมกับโรคนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นความดันโลหิตสูง ไม่ควรเลือกอาหารรสเค็มจัด ถ้าเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ไม่ควรเลือกอาหารไขมัน ผัด ทอดให้ผู้ป่วยมากนัก หรือการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยามุ่งเป้าอาจมีข้อห้าม รับประทานผลไม้จํา พวกส้มโอ เกรปฟรุต เป็นต้น
  10. ดูแลสุขภาพร่างกายโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร
    • ชั่งนํ้าหนักทุกวัน และจดบันทึกไว้ เพื่อประเมินภาวะโภชนาการเองคร่าวๆ การเลือกใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่เป็นตัวเลขดิจิตอลจะมีความแม่นยํา กว่า หากน้ำหนักลดลงมาก ควรแจ้งแพทย์เมื่อไปติดตามการรักษา
    • ดูภายในช่องปาก ว่ามีปัญหาที่ทํา ให้เบื่ออาหารหรือไม่ เช่น แผลอักเสบที่เยื่อบุช่องปากหรือลิ้น ฝ้าขาวของเชื้อราในช่องปาก
    • สังเกตอาการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคในการรับประทานอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ปวดมวนท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้อารมณ์ซึมเศร้า ถ้ามีอาการผิดปกติมากควรปรึกษาแพทย์

ตัวอย่างเมนูอาหารน่าทาน

ยำขมิ้นขาวไข่ย่าง

ไข่ข้นต้มข่าทะเล

ไข่ฟูแกงเผ็ดไก่สับ

แกงจืดไข่กระบอก

-+=