อาหารที่ดีต่อผู้ป่วยมะเร็ง
💭 หลักสำคัญในการทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็ง
- สารอาหารครบ ทานหลากหลาย
- ทานผัก ผลไม้พื้นบ้าน ที่ปลูกแบบธรรมชาติ : ผักผลไม้มีสียิ่งเหมาะ
- เน้นอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกัน ลดอาหารที่ไม่ดี
🔔 อาหารที่ควรเลี่ยง
- สัตว์เนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป
- คาร์โบไฮเดรตขัดสี ผลไม้หวานจัด ขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน
- อาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารสังเคราะห์
💬 คำถามที่พบบ่อย เรื่องอาหารกับมะเร็ง
🎗 กินอย่างไรลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำ
ทานอาหารที่ดี
เราจะใช้ชีวิตและทานอาหารอย่างไรให้โรคสงบ สุขภาพดี มีความสุข โดยพื้นฐานแล้วก็ควรเลือกทานอาหารที่ทำให้สุขภาพดี (Healthy food) ตามหลักการเดียวกับข้อแนะนำการเลือกทานอาหารช่วงที่เป็นมะเร็งและรับการรักษา
หลักสำคัญในการทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็ง
- ทานให้ครบ 5 หมู่
- ทานให้หลากหลาย
- เน้นอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- เน้นโปรตีน
- จำกัดปริมาณอาหารที่ส่งผลเสีย
ในอาหารทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษที่แตกต่างกันไป ไม่มีสิ่งไหนที่ดีที่สุด หรือเลวร้ายที่สุด
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้จักเลือกทานตามเหตุปัจจัยในแต่ละช่วงเวลาให้เหมาะสม ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
อาหารที่ควรทาน “Healthy Food”
- ทานอาหารครบ 5 หมู่ (โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, เกลือแร่หรือแร่ธาตุ, วิตามิน, ไขมัน)
- คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต
- โปรตีน ทั้งจากพืช และสัตว์กลุ่มเนื้อขาว (White Meat) เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา
- ทานอาหารหลากหลายประเภท
- อาหารทำเอง แบบสดใหม่
- ทานผัก ผลไม้ โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน
- ผลไม้ที่มีสี มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ค่อนข้างดี
อาหารที่ควรเลี่ยง
- คาร์โบไฮเดรตขัดสี เช่น ขนมปังขัดสี
- เนื้อสัตว์ที่ควรเลี่ยง
- เนื้อแดง (Red Meat) เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อแกะ เนื้อแพะ
ถ้าบริโภคมากไปจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ทานได้บ้างแต่จำกัดปริมาณ ไม่ควรเกิน 400 กรัม/สัปดาห์ - เนื้อสัตว์ที่ติดมันเยอะ
- ห้ามเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เพราะผ่านการเติมกรดไขมันอิ่มตัว สารเร่งสี ซึ่งกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง
- เนื้อแดง (Red Meat) เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อแกะ เนื้อแพะ
- ผลไม้ที่หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ลองกอง
- ขนมกรุบกรอบ ของหวาน
- อาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารสังเคราะห์
อาหารที่มีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) สูง ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ (เป็นสารกลุ่มวิตามินเอ)
มีในผักและผลไม้สีเขียวจัด ส้มจัด เช่น ฟักทอง แครอท มันญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ยังควรศึกษารายละเอียดปลีกย่อยที่สัมพันธ์กับมะเร็งชนิดต่างๆ โดยในสารอาหารบางชนิดมีรายงานการช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ควรทานอาหารที่มีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) สูง ซึ่งเป็นสารกลุ่มวิตามินเอ ที่มีในผักและผลไม้สีเขียวจัด ส้มจัด เช่น ฟักทอง แครอท มันญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงได้
มะเร็งเต้านม
ถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว ทานได้ไหม
เน้นระวังเรื่องฮอร์โมน เพราะชนิดของเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อฮอร์โมนสูง เช่น น้ำมะพร้าว มีสารกระตุ้นฮอร์โมนเยอะ ส่วนในถั่วเหลือง มีงานวิจัยบอกว่าไม่ส่งผลในการกระตุ้นมะเร็ง แต่หากเป็นในอาหารเสริมที่เป็นโปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองที่เข้มข้นสูงก็ควรหลีกเลี่ยง
เลี่ยง Growth Hormone
สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์เติบโต (Growth Factor) ต้องจำกัดปริมาณลง เช่น รังนก มี Growth Hormone สูง ไม่ควรทานมาก
ทั้งนี้ ทุกอย่างยังคงสามารถทานได้แบบนานๆ ครั้ง และจำกัดปริมาณ เนื่องจากการทานอาหารที่ส่งผลต่อผู้ป่วยมะเร็งจะมีลักษณะแบบค่อยๆ สะสม คือไม่ได้ส่งผลทันที หากทานอะไรพลาดไปก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้
คำถามที่พบบ่อย
กาแฟกระตุ้นสารก่อมะเร็งไหม ?
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่เป็น Lifestyle ของคน เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากชอบดื่มเป็นประจำ จึงถูกเพ่งเล็งว่าเป็นตัวก่อมะเร็งไหม ความจริงแล้ว กาแฟไม่ได้มีผลต่อเซลล์มะเร็ง อีกทั้งยังมีสารต้านมะเร็งอยู่ด้วย คือคลอโรจินิกแอซิด (Chlorogenic acid) ซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ชนิดหนึ่ง เพียงแต่ในกระบวนการคั่วกาแฟ จะทำให้เกิดสารที่ชื่อ อะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็นับว่ามีปริมาณน้อยมากในเมล็ดกาแฟ จึงอาจไม่ส่งผลต่อร่างกายมาก และร่างกายก็สามารถขับสารนี้ออกเองได้
ควรระวังกาแฟประเภทใส่นม เพราะเสี่ยงที่จะมีครีมเทียม โดยเฉพาะแบบ 3 in 1 ซึ่งมีทั้งน้ำตาลและครีมเทียมผสมอยู่ และการใส่น้ำตาลเยอะ ๆ ส่วนการใช้นมสดสามารถทานได้ ในกรณีที่ไม่ได้ถูกห้ามทานนม หรืออาจเลี่ยงโดยการใช้นมธัญพืช และหญ้าหวานแทนได้
สารเทอร์ปีนในกาแฟ ส่งผลให้ระดับคลอเรสเตอร์รอลสูงขึ้น การทำกาแฟดริปจะช่วยกรองเทอร์ปีนออกไป ความเสี่ยงต่อเรื่องหัวใจและหลอดเลือดก็จะลดลง
สรุป : แนะนำเป็นกาแฟดำ กาแฟดริป
- ไม่ใส่ครีมเทียม
- ไม่ใส่น้ำตาลเยอะ
- ใช้นมธัญพืชแทนได้
ทานอาหารทะเลได้ไหม ?
ในแพทย์แผนปกติไม่ได้ห้าม แต่ในการแพทย์แผนจีนจะห้ามทานปู เพราะเซลล์มะเร็งมีลักษณะการแพร่กระจายแบ่งขาเหมือนกับขาปู
ในช่วงที่ให้คีโม หรือภูมิคุ้มกันต่ำ ควรหลีกเลี่ยงหอย เพราะมักมีแบคทีเรียปนเปื้อนง่าย และควรระวังโลหะหนักที่ติดมากับอาหารทะเล แต่ถ้าไม่ได้ทานเป็นประจำในปริมาณมากก็ไม่เป็นไร
ทานมังสวิรัติดีไหม ?
ในการเกิดโรคมะเร็งของคนๆ หนึ่งนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ในบางเคสที่ทานมังสวิรัติมาทั้งชีวิตก็ยังอาจพบว่าเป็นมะเร็งได้ โดยอาจเกิดจากปัจจัยองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การล้างผักที่ไม่ดีพอ อาจทำให้ได้รับยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีตกค้างจากผัก โดยควรเลือกทานผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด และปลูกแบบเติบโตตามธรรมชาติ เพราะเสี่ยงต่อสารเคมีน้อยกว่า
- ทานอาหารให้มีสารอาหารครบ
- ทานผักพื้นบ้านหลากชนิด เพื่อให้สารอาหารครบถ้วน
- ทานผักที่ปลูกแบบเติบโตตามธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี
- ล้างผักให้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงให้มากที่สุด
สรุปเนื้อหา และรับชม Live ย้อนหลัง
จากโครงการ Thai Cancer Academy
ตอน โภชนาการและอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
โดย
👨⚕️ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ : สมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ
👨⚕️ คุณสมบัติ หทัยเปี่ยมสุข : ประธานชมรมมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก