กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็งลำไส้

กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็งลำไส้

🍽️ กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็งลำไส้

การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารก่อโทษ นอกจากจะทำให้สุขภาพโดยรวมดีแล้ว ยังเป็นการป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ด้วย เพราะอาหารที่เรากินมีผลต่อ “การขับถ่าย” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ลำไส้ใหญ่” โดยตรง

เช่น

  • อาหารย่อยง่ายช่วยให้ถ่ายคล่อง ลำไส้ไม่ทำงานหนัก
  • อาหารที่มีแบคทีเรียดี ก็จะช่วยเสริมการทำงานของลำไส้ ทำให้ลำไส้สุขภาพดี
  • นอกจากนั้นอาหารบางชนิดยังมีสารก่อมะเร็งซ่อนอยู่ ก็ออกให้ห่าง

มาดูอาหารที่เป็นมิตรและไม่เป็นมิตรกับลำไส้กันค่ะ

🙅 อาหารที่ควรลด

  • เนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง
    ควรกินให้น้อยที่สุด เพราะมีการใส่สารกันบูดที่เป็นสารก่อมะเร็ง.
  • เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ
    ไม่ควรกินเนื้อแดงเกินครึ่งกิโลต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 4 ขีด เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง และมีสารประกอบฮีโมโกลบินที่เรียกว่าฮีม (heme) ที่อาจไปกระตุ้นการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง
    นอกจากนั้นถ้านำไปปรุงสุกด้วยความร้อนสูง เช่น ปิ้ง ย่าง จะมีไขมันหยดลงบนถ่านจนเกิดควัน ทำให้เกิดสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) และสาร Heterocyclic Amines (HCAs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
  • อาหารไหม้เกรียม
    ควรกินให้น้อยที่สุด เพราะการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่น ปิ้ง ย่าง รมควัน หรือทอดจนไหม้เกรียม จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs)

🙆 อาหารที่ควรเพิ่ม

  • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ถั่วต่างๆ
    มีใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ ช่วยเจือจางสารก่อมะเร็งและลดปริมาณไขมันในลำไส้ใหญ่
    ควรกินวันละ 1 กำมือ หรือ 1 ขีด
  • ผักห้าสี
    มีใยอาหาร และมีสารต้านมะเร็ง เช่น โฟเลต ฟลาโวนอยด์ รวมถึงวิตามินต่างๆ ควรกินวันละ 5 กำมือ
    เช่น พริก แครอท บีทรูท ฟักทอง บรอกโคลี คะน้า เห็ด กระเทียม ขมิ้น ขิง ข่า มะละกอ ฯลฯ
  • อาหารแคลเซียมสูง เช่น นม ไข่ งาดำ เต้าหู้ ปลาตัวเล็ก (ปลาฉิ้งฉ้าง)
    แคลเซียมมีส่วนช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
    ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

แหล่งอ้างอิง

เพจ ลำไส้ศาสตร์

รายการรู้สู้โรค: เลือกกิน เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

-+=