อาหารที่ดีต่อผู้มีทวารเทียม
อาหารที่ดีต่อผู้มีทวารเทียม
🧶 ผู้มีลำไส้สั้นควรทานอาหารแบบไหน ?
🍲 อะไรกินแล้วดี อะไรไม่ดีต่อร่างกาย
- กินอะไรช่วยให้ถ่ายดี
- อยากลดแก๊สหรือลม ทำอย่างไร
- กากในละลายน้ำ กากใยไม่ละลายน้ำ คืออะไร
- โปรไบโอติกส์ ช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี
- ผักผลไม้แนะนำ
💌 ข้อแนะนำอื่นๆ
- ผ่อนคลายเข้าไว้ ดีต่อลำไส้ เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่มีการรับรู้เชื่อมโยงต่อกันกับสมอง และส่งผลต่อโปรไบโอติกส์ด้วย
- ยีนส์ควบคุมเวลาในร่างกาย : ทานอาหารให้ถูกเวลา ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ผ่านการผ่าตัด และมีลำไส้สั้นควรทานอาหารแบบไหน ?
ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้สั้น (short bowel syndrome) หมายถึง ลำไส้เล็กสั้นลง เนื่องจากการรักษามีส่วนที่ต้องตัดโดนลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ของการย่อยและการดูดซึมอาหาร ไม่ได้หมายถึงลำไส้ใหญ่
ลำไส้เล็กสั้นลง
ส่งผลทำให้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ค่อยดี อาจเกิดปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ท้องเสียง่าย โดยคนไข้จำนวนหนึ่งใช้การดื่มน้ำเกลือแร่ และทานน้ำหวานช่วย แต่ความจริงแล้ว ‘น้ำตาล’ เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้ที่มีภาวะลำไส้สั้น เพราะจะยิ่งทำให้น้ำไหลออกมามาก และถ่ายท้องมากขึ้น
ผู้ที่มีรอยต่อลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
หากเป็นผู้ป่วยที่การรักษาตัดโดนช่วงรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จะทำให้อุจจาระเดินทางย้อนกลับได้ และอาจเกิดภาวะที่แบคทีเรียมีจำนวนมากเกิน (Bacterial Overgrowth) ทำให้ท้องอืด มีแก๊ส มีเสียงครืดคราดในท้อง อาหารที่ทานจึงมีรายละเอียดที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
กรณีลำไส้สั้นมาก
ภาวะลำไส้สั้นที่เกิดจากการฉายแสง จากความยาวลำไส้ 21 ฟุต อาจเหลือเพียง 3-4 ฟุต ทำให้ถ่ายบ่อย อาจถึง 40-50 ครั้งต่อวัน จนต้องเปิดช่องสำหรับการขับถ่ายแบบถาวร
ลักษณะการเกิดแก๊สหรือลม
ลมที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นแก๊ส 2 ชนิด ได้แก่ แก๊สมีเทน และแก๊สไฮโดรเจน
อาการที่เกิดจากแก๊สมีเทน
จะมีลม แต่ไม่ค่อยถ่ายท้อง ท้องผูก
อาการที่เกิดจากแก๊สไฮโดรเจน
จะเกิดภาวะลำไส้เคลื่อนตัวเร็ว และอุจจาระเหลว ถ่ายบ่อย
ในบางคนอาจเกิดแบบผสม มีอาการเปลี่ยนไปมา อาการเหล่านี้ คนไทยเริ่มเป็นกันเยอะ แม้จะไม่ได้เป็นผู้ป่วยที่ตัดลำไส้ แต่หากมีอาการท้องอืด ท้องป่อง ก็สามารถใช้อาหารในลักษณะนี้ควบคุมช่วยปรับสมดุลลำไส้ได้
ทานอะไรดี
ทานสิ่งเหล่านี้ลำไส้ชอบ ขับถ่ายง่าย ^_^
- เผือก มัน กล้วย ขนมปังโฮลวีต
- อาหารมีกากใย โดยเฉพาะเส้นใยที่ละลายน้ำได้ดี เช่น เม็ดแมงลัก ซีเลียมฮัสค์ (Psyllium Husk) แอปเปิ้ล
- อาหารที่เสริมสร้างโปรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
ทานแล้วดี
- อาหารที่มีกากใย แร่ธาตุสังกะสี ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์ทั่วไป ช่วยให้อุจจาระเป็นก้อนขึ้น หยุดการถ่ายเหลว
- อาหารที่เป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้ดี เช่น แอปเปิ้ล (แต่อาจทำให้ถ่ายผสมด้วย) เม็ดแมงลัก เป็นวุ้นที่เกาะลำไส้ จะไม่ทำให้ถ่ายเป็นมวลมากเกินไป (ก้อนไม่แน่นไป ทำให้ถ่ายง่าย)
- อาหารที่เสริมสร้างโปรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เป็นตัวหล่อเลี้ยง ซ่อมแซม สร้างสมดุลนิเวศน์ใหม่ให้ลำไส้
- อาหารที่มีเส้นใยละลายน้ำ จะช่วยให้โปรไบโอติกส์ทำงานได้ดีอีกด้วย
- ควรทานเผือก มัน กล้วย ขนมปังโฮลวีต
- ผู้ป่วยที่มีทวารเทียมแบบปัสสาวะ ควรทานอาหารที่มีความเป็นกรดวิตามินสูง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เนื่องจากทำให้แบคทีเรียไม่ค่อยเจริญเติบโต
อันนี้ทานได้
- เนื้อสัตว์ไม่แปรรูปทานได้ทุกชนิด สูตรนี้อาจต่างกับคำแนะนำอาหารชนิดอื่นเป็นพิเศษ ใช้กับผู้ที่เป็นลำไส้สั้น (IBS) และลำไส้แปรปรวน (SBS) คนที่มีปัญหาทั้งท้องอืดและถ่ายท้อง
- ทานแคลเซียมได้ไม่จำกัด
กากใยละลายน้ำ กับกากใยไม่ละลายน้ำ เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ? (มีคำตอบอยู่ข้างล่าง)
ไม่ควรทานอะไร
- ควรงดของเผ็ด ของหวาน
- ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้สั้น ห้ามทานไขมัน เพราะลำไส้มีพื้นที่ในการสัมผัสน้ำดีและไขมันน้อยลง ไขมันจะยิ่งกระตุ้นน้ำดีออกมา ทำให้ลำไส้ระคายเคือง และถ่ายท้องมากขึ้น
- คนไข้ที่ตัดลำไส้เล็ก ต้องระวังผักที่มีออกซาเลต (oxalate) สูง เพราะจะไม่สามารถสกัดสารตัวนี้ได้ เช่น ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง
ถ่ายเยอะเกิน
- ควรระวังอาหารประเภทกากใย (Fiber : ไฟเบอร์) ที่ไม่ละลายน้ำ เพราะจะกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวเร็ว ทำให้อุจจาระถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย
- ระวังน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) ที่เป็นสารให้ความหวาน เพราะจะทำให้เกิดแก๊สจากการหมักในทางเดินอาหาร กระตุ้นให้ถ่ายเยอะ
แก๊สเยอะ ทำให้อึดอัดท้อง และเปลี่ยนทวารเทียมบ่อย เพราะสิ่งเหล่านี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง และพวกแตง เมลอน เพราะทำให้เกิดแก๊สเยอะ
- ผู้ที่ผ่าตัด มีทวารเทียม (Ostomy Bag) ไม่ว่าจะจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือกระเพาะปัสสาวะ ต้องระวังเรื่องผักกลิ่นฉุน เพราะจะสร้างกลิ่นฉุนรบกวนมากๆ เช่น คื่นช่าย ผักชีลาว ผักชีไทย ผักชีฝรั่ง พาสเล่ย์ สตอ ทุเรียน กะหล่ำปลี ทำให้อุจจาระมีกลิ่น ถุงเหม็น เต็มเร็วเพราะมีแก๊สเยอะ ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย แต่มีวิธีช่วยได้ คลิกเลย
- ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะทำให้มีแก๊สเยอะ
คำแนะนำเพิ่มเติม
ผ่อนคลายเข้าไว้
ระวังเรื่องความเครียด เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่มีการรับรู้เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับสมอง เมื่อมีความเครียดสองอวัยวะนี้จะส่งผ่านถึงกัน
เมื่อเครียด นอนดึก จะทำให้โปรไบโอติกส์เปลี่ยน และทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เจริญเติบโตผิดปกติ
- คนที่เป็น short bowel syndrome รุนแรงมาก ต้องพิจารณาการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ เพราะดูดซึมทางลำไส้ไม่ได้ อาจต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำเป็นครั้วคราว ไม่ต้องตกใจ
- กรณีลำไส้ที่มีปัญหามากจนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตมากเกิน จะทำให้เกิดเสียงครืดคราด มีลมในท้องมากขึ้น ต้องเปลี่ยนมาทานอาหารประเภท Low FODMAP Diet คืออาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหมักตัว
- สิ่งต้องห้ามคือ สีแดง เช่น กระเทียม เห็ด หอมแดง หอมใหญ่ แตงโม มะม่วงสุก อโวคาโด ถั่วที่มีกากใยมาก
การทานอาหารสำหรับผู้ป่วยทวารเทียมลำไส้ใหญ่
ผลกระทบจากการฉายแสง
ควรเลี่ยงพฤติกรรมการทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก โดยจะเหมือนหลักปกติทั่วไป คือควรทานผักผลไม้ ไม่ทานเนื้อสัตว์เยอะ ห้ามทานไขมัน เพราะจะลำไส้จะเคลื่อนตัวอุจจาระช้าลงกว่าเดิม ท้องผูก หรือมีไขมันออกมากับอุจจาระ และการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก็ส่งผลเสียได้
ลูกพรุน ทานดีไหม ?
ลูกพรุน มีไฟเบอร์เยอะ เป็นพรีไบโอติกส์ที่ดี แต่ต้องพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ในคนปกติทานแล้วจะขับถ่ายได้ดี เพราะดึงมวลน้ำ และช่วยให้โปรไบโอติกส์ทำงานได้ดี แต่ในคนไข้ที่มีภาวะจุลินทรีย์เติบโตผิดปกติ (dysbiosis) จะมีน้ำตาล 2 ตัวในลูกพรุนที่ส่งผลเสีย เนื่องจากจะเข้าไปแย่งน้ำตาล และทำให้เกิดก๊าซมีเทน ทำให้เกิดลม และขับถ่ายไม่ดี
อีกรณีหนึ่ง คือคนที่ทานลูกพรุน หรือฝรั่งที่มีไฟเบอร์สูง ไฟเบอร์จะอุ้มน้ำในระบบทางเดินอาหาร ไม่ยอมอิ่มตัวด้วยน้ำปกติ ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ในระบบทางเดินอาหารไม่ดูดซึมน้ำจนลำไส้เคลื่นตัวได้ช้าลงซึ่งจะทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายออกยาก
ช่วงเวลาในการทานอาหาร มีผลต่อการทำงานของระบบในร่างกาย
ร่างกายเรา มียีนส์ควบคุมเวลา
มีการค้นพบว่ายีนส์ที่ควบคุมเวลากลางวันกลางคืนในร่างกาย ควบคุมการทำงานของตับ ลำไส้ และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ในแต่ละช่วงเวลาลำไส้จึงทำงานคนละแบบ ฮอร์โมนก็ทำงานแตกต่างกัน ดังนั้นหากไม่นอนเป็นเวลา หรือทานผิดสัดส่วน ก็จะส่งผลทำให้ร่างกายเรารวนหมด
มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า การทานอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงในช่วงดึก จะทำให้ได้รับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูงกว่าคนที่ทานในปริมาณเท่ากันในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากในช่วงประมาณหลัง 1 ทุ่มไปแล้ว เป็นเวลาที่ร่างกายทำการสังเคราะห์และเก็บคอเลสเตอรอลในร่างกาย คอเลสเตอรอลถูกนำไปใช้เป็นฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศจะถูกรบกวน คอเลสเตอรอลจึงไม่มีทางไป และสะสมในร่างกายสูงขึ้นจากการทานอาหารผิดช่วงเวลา
การออกกำลังกายเป็นประจำ และการนอนหลับให้ดี เป็นรากฐานสำคัญของการดูแลสุขภาพที่ดี
กากใยละลายน้ำ กับกากใยไม่ละลายน้ำ เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ?
กากใยที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) คือ โดนน้ำแล้วไม่พองตัว
กากใยละลายน้ำ (Soluble Fiber) จะพองตัว และละลายได้ดีในน้ำ
กากใยที่ไม่ละลายน้ำ
ตัวอย่างอาหารที่เป็นกากใยไม่ละลายน้ำ มีมากในอาหารประเภทธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ข้าวสาลี รำข้าวสาลี รำข้าวเจ้า พืชตระกูลถั่ว แต่ความจริงแล้วถั่วก็มีผสมกันทั้ง 2 แบบแล้วแต่ชนิด เวลาทานถั่วลิสง แล้วเมื่อขับถ่ายออกมาจะพบว่ายังมีกากถั่วลิสงอยู่ เป็นข้อสังเกตหนึ่งของอาหารที่มีกากใยไม่ละลายน้ำที่จะยังมีการคงรูปเดิมหลังการขับถ่าย โดยจะช่วยทำให้อุจจาระเป็นมวล และเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ออกมาได้
กากใยที่ละลายน้ำ
กากใยที่ละลายน้ำได้ไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของลำไส้ที่มากไป แต่จะอุ้มน้ำเอาไว้ในตัวเอง ซึ่งช่วยในการฟอร์มตัวของมวลอุจจาระได้ (เป็นก้อน) ชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในร่างกาย ตัวอย่างกากใยละลายน้ำ เช่น เม็ดแมงลัก วุ้นลูกสำรอง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ควรทานแบบไม่หวาน ในการแพทย์แผนจีนจัดเป็นฤทธิ์เย็น แก้ไอ ช่วยลดการติดเชื้อได้ดี
วุ้นลูกสำรอง ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ควรทานแบบไม่หวาน ในการแพทย์แผนจีนจัดเป็นฤทธิ์เย็น แก้ไอ ช่วยลดการติดเชื้อได้ดี
ผัก ผลไม้
- มันหวาน มีกากใยสูง มีคาร์โบไฮเดรตสูง แต่คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงต้องระวัง คนที่ท้องอืดง่ายต้องระวัง
- แครอท มีแป้งสูง เส้นใยไม่เยอะมาก ซีรัมแคโรทีนอยด์สูง ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งได้ค่อนข้างดี
- กะหล่ำดาว มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งสูง ช่วยลดฮอร์โมนที่เกิน กำจัดสารพิษที่ตับ เป็นพืชที่มีกลิ่น ผู้ใส่ถุงทวารเทียมไม่ควรทานมาก
- บล็อคโคลี ราชาแห่งการต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งสูง เป็นพืชที่มีกลิ่น ผู้ใส่ถุงทวารเทียมไม่ควรทานมาก
- ในประเทศไทยใช้สารเคมีในการปลูกเยอะ จึงควรเลือกแบบปลอดสารพิษ หรือล้างสารพิษให้ดีก่อนรับประทาน ห้ามทานแบบคั้นน้ำเยอะ ๆ เพราะมีฤทธิ์ต้านกับตัวยา 5FU ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งลำไส้ คาเพซิตาบีน และ TH1 จะทำให้ลดประสิทธิภาพยา โดยในการทาน ต้องหั่นเป็นชิ้น หรือขยี้ก่อน จึงจะปล่อยสารต้านมะเร็งออกมา
- ถั่วลิมา มีเส้นใยอาหารสูง ให้โปรตีน ทานได้ดี
- ข้าวโอ๊ต มีทั้งกลุ่มที่มีเส้นใยละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำสูง มีสารเบต้ากลูแคน1314 เป็นเส้นใยที่ชะลอการดูดซึมน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
- ผักที่มีลักษณะเป็นปล้องๆ มักมีแก๊สเยอะ
สรุปเนื้อหา และรับชม Live ย้อนหลัง
จากโครงการ Thai Cancer Academy
ตอน โภชนาการและอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
โดย
👨⚕️ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ : สมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ
👨⚕️ คุณสมบัติ หทัยเปี่ยมสุข : ประธานชมรมมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก