คุณเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จากพันธุกรรมหรือไม่ ?

คุณเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จากพันธุกรรมหรือไม่ ด?

เช็กก่อน ชัวร์ก่อน

มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมากจะเกิดมาจากพฤติกรรมการกินกับการใช้ชีวิต โรคประจำตัวบางโรค และสารพิษรอบตัวของผู้ป่วยเอง แต่จากการศึกษาพบว่า มีความเสี่ยง 5-10% ที่โรคนี้จะถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม

โรคร้ายนี้ไม่สนเพศ ไม่สนอายุ ถ้าหากคุณมีคนในครอบครัวที่ป่วย (หรือเคยป่วย) เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ล่ะก็ คุณถือเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง! 😱

ลำไส้ศาสตร์ จึงขอพาคุณมาเช็คให้มั่นใจว่าคุณจะไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่รู้ตัวจากพันธุกรรม😌💅✨

โดยผู้มีความเสี่ยงนั้นมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 4 รูปแบบ ได้แก่

  • ผู้ที่มีญาติสายตรง (ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง) ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 60 ปี (แม้เพียงแค่คนเดียวก็ตาม)
  • ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตอนอายุใดก็ได้ (ตั้งแต่ 2 คนเป็นต้นไป)
  • ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมกับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น เป็นร่วมกับมะเร็งตับอ่อน ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร สมอง รังไข่ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องอื่นๆ (อาทิ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา) ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตั้งแต่จำนวน 2 คนขึ้นไป (ไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุเท่าใดก็ตาม) มีญาติที่มียีนมะเร็งลำไส้ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

🙆 คุณเข้าข่ายเกณฑ์เหล่านี้หรือเปล่า ?

ใช่ ✅ ฉันมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

กรณีนี้คุณมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง จึงควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ภายในช่วงอายุที่ญาติผู้นั้นตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แล้วลบด้วยเลขสิบ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ
หากแม่ของคุณพบว่าตนเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 35 ปี (35-10 = 25) คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ที่อายุ 25 (‼️ย้ำอีกครั้ง มะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้สูงวัยเท่านั้น ตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นต้นไปก็อาจสามารถพบอาการได้แล้ว‼️)

ไม่ใช่ ❌ ฉันไม่มีญาติป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แม้แต่คนเดียว

คุณก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ยังถือว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากหลายครั้งที่ยีนมะเร็งจากพันธุกรรมมีสิทธิ์ที่จะไม่แสดงออกมาภายในช่วงๆ หนึ่งของชีวิต แล้วแต่สภาพความแข็งแรงของร่างกายคุณ ไม่แน่ พ่อแม่คุณอาจมียีนมะเร็ง แต่มันแค่กำลังเล่นซ่อนแอบอยู่ก็ได้

ดังนั้นคุณสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้จากการเข้าตรวจยีนมะเร็งลำไส้ ซึ่งเป็นการตรวจจากเลือด น้ำลาย หรือเซลล์กระพุ้งแก้ม ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารทั้งนั้น แถมรอผลตรวจเพียงแค่ 30 วัน ^^


แล้วคุณล่ะ มีความเสี่ยงเหล่านี้หรือเปล่า? เช็คก่อน ชัวร์ก่อน
มะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่เลือกอายุ หากตรวจเจอตั้งแต่ระยะต้นๆ สามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้!

แหล่งอ้างอิง

เพจ ลำไส้ศาสตร์

Shaukat, Aasma MD, MPH, et al. ACG Clinical Guidelines: Colorectal Cancer Screening 2021

The American Journal of Gastroenterology: March 2021.

-+=