Caregiver 101 : อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย
เนื้อหาโดยคุณพาย ภาริอร วัชรศิริ
ข้อความและอุปกรณ์ต่างๆ ในอัลบั้มนี้ อาจดูไกลตัวมากๆ ในวันนี้ แต่เชื่อเถอะว่าวันนึงมันอาจมีประโยชน์นะ
สืบเนื่องจากการดูแลท่านแม่ ผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ติดเตียงยาวนานมาถึง 11 ปี ข้าพเจ้าจึงมีเพื่อนผองน้องพี่ คนรู้จัก คนไม่รู้จัก คนอ่านที่ตามหนังสือ คนตาม Facebook และอีกมากมาย ทักมาถามไถ่ ปรึกษาถึงเรื่องวิธีการดูแลคนป่วย ทั้งในเบื้องต้น และรายละเอียดเสมอ
อีกไม่กี่วันพอออกจากโรงพยาบาล ต้องพากลับบ้านแล้ว ยังไม่รู้จะทำยังไงต่อ
นี่คือสิ่งที่เรามักจะได้พบ ได้ยินเป็นประจำ เมื่อคนรอบตัวมีคนในครอบครัวที่เจ็บป่วย หรือเป็นคนสูงวัยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผ่าตัด ทำการใดๆ อันส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นกลายเป็นคนป่วยติดเตียง
สิ่งที่เราได้จากหมอและพยาบาลในโรงพยาบาล คือ ‘วิธีการรักษาคนป่วย’
แต่ ‘วิธีใช้ชีวิตประจำวัน’ หลังจากนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยสอน (แต่ก็อย่าได้โทษหมอกับพยาบาลเลยนะ คือถ้าถามเขาก็คงตอบนั่นแหละ แต่หมอกับพยาบาลหนึ่งคน ไม่ได้ดูคนไข้คนเดียว แค่ตรวจๆๆๆ นี่ก็หมดวันแล้วยูว์)
ถ้าตอนที่แม่เราป่วย มันมีชุดข้อมูลบางอย่างที่บอกเราว่า เราควรใช้อะไร ทำอะไร ซื้ออะไรเตรียมพร้อมไว้บ้าง ชีวิตคงดี และง่ายกว่านี้ไม่น้อยเลย
เราคิดตลอดว่า ถ้าตอนที่แม่เราป่วย มันมีชุดข้อมูลบางอย่างที่บอกเราว่า เราควรใช้อะไร ทำอะไร ซื้ออะไรเตรียมพร้อมไว้บ้าง ชีวิตคงดี และง่ายกว่านี้ไม่น้อยเลย แต่นั่นแหละ สุดท้ายมันก็ผ่านมาได้ ตอบตามตรงว่าการดูแลผู้ป่วยไม่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับอาการ ข้อจำกัด และต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เขาต้องการ ชีวิตประจำวัน และรสนิยม (ใช่! 555 รสนิยม) ของคนป่วย คนแต่ละคนชอบของ ชอบวิธีการดูแลไม่เหมือนกัน (บางทีคนเดียวกัน เวลาเปลี่ยน ความชอบก็เปลี่ยน) เอาแบบที่เจอกันตรงกลาง คนดูแลคนป่วยไหว และคนป่วยก็ยอมรับได้ด้วย
การดูแลผู้ป่วยไม่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับอาการ ข้อจำกัด และต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เขาต้องการ ชีวิตประจำวัน และรสนิยมของคนป่วย
คนแต่ละคนชอบของ ชอบวิธีการดูแลไม่เหมือนกัน (บางทีคนเดียวกัน เวลาเปลี่ยน ความชอบก็เปลี่ยน)
เอาแบบที่เจอกันตรงกลาง คนดูแลคนป่วยไหว และคนป่วยก็ยอมรับได้ด้วย
ภาพอุปกรณ์และวิธีใช้ที่อยู่ในอัลบั้มนี้ เป็นรีวิวจากประสบการณ์ของเราล้วนๆ ไม่ได้ครอบคลุมทุกไอเทมที่มีขายในร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ และอาจไม่ได้ถูกหลักการแพทย์เป๊ะๆ 100% แต่เอาเป็นว่าก็ช่วยให้แม่ (และตัวเอง) อยู่รอดมาได้ 11 ปี 5555 น่าจะพอเวิร์คอยู่ประมาณนึง อยากแชร์ไว้เผื่อวันนึงมีใครต้องเจอสถานการณ์เดียวกัน อยากให้รู้ว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว และไม่ต้องเริ่มต้นจากหนึ่งเหมือนเรา เราลิสต์ (และรีวิว) ไว้ให้แล้ว
ไปดูไปอ่านกันเพลินๆ : )
อุปกรณ์ที่น่าสนใจ
- Caregiver 101 : อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่น่าสนใจCaregiver 101 : อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย เนื้อหาโดยคุณพาย ภาริอร วัชรศิริ ข้อความและอุปกรณ์ต่างๆ ในอัลบั้ม… Read more: Caregiver 101 : อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยที่น่าสนใจ
- แพมเพิร์สแบบแปะหรือจะเรียกแบบเทปก็ตามสะดวก อันนี้คือสิ่งที่มีมูลค่าการใช้จ่ายสูงที่สุดดดดด คือมันเปลืองมากกก แต่ก็ต้องใช้อ่ะนะฮะ ดูขนาดที่พอดี ไม่หลวม ไม่งั้นฉี่จะไหลหลากเป็นแม่น้ำลงบนเตียงได้
- แพมเพิร์สแบบสวมสำหรับใช้เวลาที่ต้องออกเดินทางไปข้างนอก ออกไปโรงพยาบาล ไปที่ไหนใดๆ ที่มากกว่าแค่ในบ้าน แล้วต้องลุกออกจากเตียง ถ้าใช้แบบเทปแปะ แล้วต้องลุก แม้เพียงหนึ่งถึงสองก้าว เมื่อฉี่ถึงจุดนึง แพมเพิร์สแบบแปะอาจย้วย หรือหลุดลงมากองข้างล่างได้เด้อ
- แผ่นรองวันที่ฉี่ล้นออกมานอกแพมเพิร์สอย่างช่วยไม่ได้ เจ้าแผ่นรองนี่จะทำให้ชีวิตดี เพราะอย่างน้อยที่สุดมันจะไม่ไหลลงเตียง
- น้ำเกลืออุปกรณ์สามัญประจำบ้าน มีไว้แล้วดี เป็นศรีแก่ชีวิต เอาไว้ใช้สำหรับล้างทำความสะอาดได้หลายสิ่ง จะล้างแผล ล้างอะไรใดๆ ก็ได้ว่ากันไป
- สำลีเอาไว้ใช้ทำแผล ทำทุกสิ่งจิงกะเบล รวมถึงเช็ดถ่าย ถ้าถ่ายเบา นี่ก็จะเอาสำลีชุบน้ำเกลือแล้วเช็ดให้เลย แล้วค่อยเอาทิชชู่ซับ แต่ถ้าเป็นถ่ายหนัก ก็เอาทิชชู่รวบตึงคุณของเสียก่อน แล้วเอาสำลีชุบน้ำเกลือคลีนอีกรอบ เป็นอันงดงามข่ะะ
- แป้งโรยกันแผลกดทับถัดจากสเต็ปเช็ดทำความสะอาด เนื่องจากคนป่วยติดเตียงของเรานอนนาน ก็จะมีความร้อน มีแผลกดทับเกิดขึ้นตรงก้น ก้นกบ และที่อื่นๆ นี่ก็จะโรยๆ แป้งกันแผลกดทับหน่อย
- ถุงมือแพทย์ซื้อทีแบบกล่องเลยก็ดี มาทีเป็นร้อยคู่ เพราะใช้แล้วทิ้งเลย ใช้อยู่ 3 เวลา คือเวลาเช็ดถ่าย เวลาทำแผล และเวลาอาบน้ำ เพราะบางทีเรามีเล็บ (ซึ่งคนดูแลคนป่วยควรตัดเล็บ) และบางทีก็จะมีสิ่งสกปรกในนั้น หรือเล็บเราอาจจะไปข่วน ไปบาดผิวคนป่วย
- ที่นอนลมที่นอนลมนี่มันก็จะช่วยลดแผลกดทับ เพราะมันจะมาพร้อมมอเตอร์ สูบลมเข้าๆ ออกๆ ตามจังหวะมัน เอาเป็นว่าความร้อนก็จะไม่กองอยู่ที่ก้นอะไรประมาณนี้แล ชีวิตก็จะดี คือเปลืองไฟนิดหน่อยแต่ดี ดีมากๆๆๆๆๆๆ ควรมี A Must จริงๆ
- เบาะเจลข้อดีก็คือมันไม่ต้องติดมอเตอร์ไง แล้วก็อันเล็กไง เลยพกพาสะดวก บางทีเวลาต้องหอบแม่ไปโรงพยาบาล ต้องนั่งวีลแชร์นานๆ นี่ก็เอาที่เบาะเจลมาวางตรงที่นั่งวีลแชร์เลย
- ผ้ากันเปื้อนแบบพลาสติกหากคนป่วยของเรา กินแล้วมีความหก ความไหลย้อย (อย่างเช่นแม่เราที่คุมมุมปากข้างนึงไม่ได้ เพราะเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก) หรือบางทีก็มีความดื้อ คือกินยาเหนื่อย ขี้เกียจกิน ก็บ้วนแหวะออกมาทั้งอย่างนั้นเลย ผ้ากันเปื้อนจะช่วยให้เราไม่ต้องทุกข์ทนกับการซักผ้าค่ะคู้นนนนน ยิ่งถ้าเลือกแบบพลาสติก เอาทิชชู่เช็ดปาดพรึ่บคือจบ
- ที่ตัดยาช่วยให้กินยาง่ายขึ้น เพราะเม็ดเล็กลง บางทียาเอย วิตามินเอย เม็ดขวางคอมากจย้าา ก็หั่นครึ่งไป ชีวิตก็จะดี เทคนิคการหั่น เวลาหั่นถ้าเม็ดเล็กมาก อย่าวางชิดขอบยางสีๆ (สีชมพูๆ แดงๆ อันนั้น) เกินไป ให้วางห่างออกมานิดหน่อย พอลงใบมีดแล้วมันจะได้มีพื้นที่ในการกระเด็นออกจากกันเพราะแรงกด หากวางชิดขอบยางเลย หั่นแล้วจะแตกกกกกกก
- ตลับยาหากต้องกินยาเยอะ ก็ซื้อที 4-5 อันเลยก็ได้ เราจะจัดทีเดียวแบบกินได้หลายวัน จะได้ปิดจ็อบกันไป
- โต๊ะติดล้อเลื่อน / โต๊ะคร่อมเตียงเหมาะกับคนป่วยติดเตียงที่ยังช่วยตัวเองได้ประมาณนึง คือเลื่อนโต๊ะเข้าไปหาเตียง แล้วกินข้าวเองได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มันก็กลายเป็นที่วางของใช้ทำความสะอาดเวลาเช็ดถ่ายไป จะใช้ก็เข็นมา ไม่ใช้ก็หลบซีนได้เช่นกัน
- ชุดผู้ป่วยข้อดีคือเหมือนเขาคิดมาแล้วว่าผ้าแบบไหนไม่บาดผิว ระบายอากาศดี ส่วนใหญ่เป็นแบบเชือกให้ผูกเอา ซึ่งเวลานอนแล้วต้องตะแคง ต้องทำอะไรก็จะไม่เจ็บเหมือนกระดุม ใส่ง่าย ถอดสบาย จะตัดชุดเอง ให้ดูน่ารักๆ ไม่ดูเป็นผู้ป่วยก็ดีนะ
- ผ้ายกตัวเหมาะกับคนป่วยที่เป็นอัมพาต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย 100% (ไม่เหมือนอัมพฤกษ์นะ อันนั้นใช้ไม่ได้ครึ่งท่อนบนล่าง ไม่ก็ครึ่งซีกซ้ายขวา) ผ้ายกตัวก็ช่วยเรื่องการขนย้าย เคลื่อนย้ายกันไป ก็สะดวกดี
- เตียงผู้ป่วยสิ่งดีงามของชีวิ้ตตตตตตต ก็คือถ้ามีเงินเก็บหน่อย ซื้อไอ้นี่เถอะ ประเสริฐง่ะ เตียงมีที่กั้นซ้ายขวา อุ่นใจว่าจะไม่มีการตกเตียง แถมปรับขึ้นลงนั่งได้ ไม่ต้องยกตัวโอบอุ้มกันขึ้นมานั่งเก้าอี้ทุกมื้ออาหารอีก ลดอาการปวดหลังจากการอุ้มยกคนป่วยได้มาก กราบใจผู้คิดค้น
- บันไดก้าวขึ้นเตียงเหมาะกับคนป่วยที่ช่วยตัวเองได้ประมาณนึง หรือในเคสที่ถ้าเตียงคนป่วยที่ซื้อมามันสูง แล้วปรับระดับไม่ได้ไรงี้ มีไอ้นี่ก็อำนวยความสะดวกดี จะได้ขึ้นเตียงได้ง่ายๆ
- วีลแชร์อีกหนึ่งสิ่งเลิฟฟฟ ที่ฉันรักมาก ค่อนข้างชอบแบบผ้ามากกว่าแบบเหล็กๆ เงินๆ รู้สึกอันนั้นนั่งแล้วเจ็บก้นแน่แท้ ซื้ออันเล็กๆ แบบพับได้ ชีวิตจะสะดวกกว่ามาก มีแบบส่วนตัวไว้ดีนะ ลงจากรถแล้วมันไม่ต้องไปวิ่งควานหาอ่ะ ควักออกมาจากหลังรถเลยยยย
- ไม้สามขา / ไม้สี่ขาเรียกว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ดี แนะว่าซื้อแบบวัสดุเคลือบ (แบบซ้าย) แล้วจะดีกว่า เพราะแบบไม่เคลือบใช้ไปนานๆ สนิมขึ้นอ่ะ 555 เนื่องจากเราฝึกนางเดิน (ก็คือเดินด้วยกัน เรากึ่งๆ พยุงอยู่ข้างหลัง) หรือเวลาจะไปอาบน้ำกันในห้องน้ำ นางก็จะใช้ไม้สามขาช่วยเดินไป
- คอกช่วยเดินเป็นอุปกรณ์ที่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อคนป่วยของเราใช้งานแขนทั้งสองข้างได้นะ เพราะมันต้องจับสองมือ ยกไปข้างหน้าเพื่อช่วยเดิน
- ปลอกกันเกา / ปลอกกันดึงสายน้ำเกลือเป็นปลอกน้ำเกลืออย่างอ่อน ที่เจาะรูให้ระบายอากาศ แล้วก็มีไหมพรมตรงปลาย (ไว้สำหรับให้ถูได้ถ้าคัน) มันก็จะแค่ได้ถูๆ ไม่ได้ลงเล็บมืออวตารเหมือนการเกา ที่ทำให้เกิดแผลมากมาย ส่วนอีกด้านก็มีไหมพรมเช่นกัน เอาไว้ผูกตรงข้อมือ จะได้ไม่เจ็บจ้ะ . . .
- เก้าอี้นั่งถ่ายเหมาะสำหรับคนป่วยที่ไม่อยากใส่แพมเพิร์ส ไม่ต้องการนอนจมกองอึของตัวเอง และมีความสามารถในการนั่งได้หลังถูกคนดูแลจับอุ้มพยุงมานั่ง หรือเหมาะสำหรับคนที่เตียงอยู่ไกลห้องน้ำ ไปไม่ไหว ก็คืออึหรือฉี่กันข้างเตียงได้เลย มีแบบเก้าอี้สำหรับถ่าย แบบมีพนักพิงมีที่วางแขนด้วยนะ . . .
- เก้าอี้อาบน้ำวันที่ฉี่ล้นออกมานอกแพมเพิร์สอย่างช่วยไม่ได้ เจ้าแผ่นรองนี่จะทำให้ชีวิตดี เพราะอย่างน้อยที่สุดมันจะไม่ไหลลงเตียง
- แผ่นยางกันลื่นลองเอาตัวเองเข้าไปนั่งในห้องน้ำอ่ะ แล้วจำลองตัวเองเป็นเขา จะต้องลุกยังไง เดินไปทางไหนบ้าง ก็คือปูไปตามนั้นเลยจ้ะ
- เครื่องวัดความดันมีไว้อุ่นใจดี ไม่ได้แพงไรมาก ใช้ง่าย สนุกดี ก็วัดแล้วก็จดบันทึกกันไปว่าปกติดีไหม ไว้รายงานหมอได้ด้วย
- สบู่อาบน้ำคนป่วยสบู่ ควรเลือกที่อ่อนโยนกับผิว และล้างออกง่ายมากๆ เพื่อไม่ต้องถูผิวหนังผู้ป่วยแรงๆ และบ่อยๆ
- ถ้วยถั่วเป็นถ้วยที่ออกแบบมาสำหรับอรรถประโยชน์ใช้สอย เคยเห็นหมอไว้ใส่สำลีกับยา และเคยเห็นพยาบาลไว้ใช้ตอนแปรงฟันคนป่วย ก็คือจะได้บ้วนกันลงบนนี้เลย
- เทอร์โมมิเตอร์ซื้อติดบ้านเลย คือเวลาเกิดอาการไรขึ้น ดิฉันจับวัดไข้ก่อนค่ะ ที่เหลือสังเกตแล้วว่ากัน #รายงานหมอเช่นเคย
- ที่รัดเอวดามหลัง (สำหรับคนดูแล)ที่รัดดามหลัง ต้องใส่ทุกครั้งเวลายกของหนัก (ใช่ฮ่ะ ก็แม่นั่นแหละ) หลังจากนั้นเวลายกก็ไม่ปวดอีกเลย
- ที่อุดหู (สำหรับคนดูแล)เวลานอนของคนป่วยติดเตียงมันจะแปลกๆ นิดนึง ตอนกลางคืนบางทีก็ไม่หลับแบบจริงจัง แล้วอาจเปิดทีวีหรือทำอะไรที่มีเสียงจนผู้ดูแลตื่นได้ ลองดูที่เงียบกำลังดี ให้นอนสบาย แต่เกิดอะไรขึ้นก็ยังรู้ได้อยู่
- ที่ตรวจเบาหวานซื้อติดบ้านเลย คือเวลาเกิดอาการไรขึ้น ดิฉันจับวัดไข้ก่อนค่ะ ที่เหลือสังเกตแล้วว่ากัน #รายงานหมอเช่นเคย
เพิ่มเติม พร้อมวิธีเลือกอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย
ขอบคุณจากหัวใจ
- คุณพาย ภาริอร วัชรศิริ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10219312628666380&type=3
- รูปภาพโดย Mockup Graphics on Unsplash