มะเร็งโรคเลือด MPN
มารู้จักมะเร็งโรคเลือด MPN กัน
เป็นการเรียกชื่อรวมของมะเร็งโรคเลือดซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด นำไปสู่การผลิตเซลล์เม็ดเลือดมากเกินปกติอย่างรวดเร็ว สามารถแบ่งเป็นแบบที่มีฟิลาเดลเฟียโครโมโซม คือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) และไม่มีฟิลาเดลเฟียโครโมโซม หรือที่เรียกว่า Philadelphia-chromosome negative
อาการของมะเร็งโรคเลือด MPN
ผู้ป่วยโรคเอ็มพีเอ็น อาจจะมีอาการหรือไม่มีก็ได้ โดยอาการที่แสดงของโรคจะแตกต่างกัน แม้จะอยู่ในสภาวะโรคเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า (Fatigue), ซีดจาง (Anemia), คัน (ltching), เหงื่อออกมากผิดปกติในตอนกลางคืน (Night sweat) และปวดกระดูก (Bone pain) บางรายอาจมีไข้ และน้ำหนักลด เป็นต้น ซึ่งสามารถเรียกอาการเหล่านี้ได้ว่าเป็น Constitutional symptoms
ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเรื่องลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ป่วยโรคเอ็มพีเอ็นบางรายมีการกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นท้องจากม้ามโต (Splenomegaly) ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต ซึ่งกล่าวโดยสรุปคือ โรคนี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก
ประเภทของมะเร็งโรคเลือด MPN
ในที่นี้จะกล่าวถึงแบบที่ไม่มีฟิลาเดลเฟียโครโมโซม ซึ่งสามารถแบ่งย่อยเป็น 3 โรคที่พบค่อนข้างบ่อย โดยขึ้นกับชนิดของเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติและอุบัติการณ์ของโรค
- เลือดข้น (PV – Polycythemia) คือ ร่างกายมีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
- เกล็ดเลือดสูง (ET – Thrombocythemia)
- พังผืดในไขกระดูก (MF – Myelofibrosis)
โรคเลือดข้น (PV – Polycythemia)
เกิดจากการที่ไขกระดูกมีการผลิตเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ โดยภาวะนี้จะมีการสร้างเซลล์ เม็ดเลือดชนิดอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดขาว และ เกร็ดเลือด เพิ่มขึ้นด้วย การที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงที่มากกว่า ปกติจะเพิ่มโอกาสในการเกิดการจับตัวกันของของเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดได้ง่าย ทําให้มีการอุดตันของ หลอดเลือดบริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น บริเวณปลายมือ ปลายเท้า หลอดเลือดสมอง หรือโรคเส้นเลือดหัวใจ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่มักพบในช่วงอายุ 60-70 ปี แต่พบประมาณร้อยละ 90ของผู้ป่วยโรคเลือดข้นมีการกลายพันธุ์ของยีน ชื่อ แจ็คทู (JAK 2 mutation)
อาการของโรค
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการเลยในระยะแรกของโรค อาการที่พบได้ บ่อย ได้แก่ ใบหน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ง่วงซึมหายใจสั้น หรือหายใจลําบาก ชาเจ็บตามปลายมือ ปลายเท้า คัน ตามผิวหนังโดยเฉพาะเมื่ออาบน้ําอุ่น ตึงบริเวณท้องด้านบนซ้ายเนื่องจากม้ามโต ในรายที่มีการ อุดตันของหลอดเลือดที่หัวใจจะเจ็บเค้นหน้าอกซ้ายร้าวไปที่ลําคอหรือไหล่ความดันโลหิตต่ํา และ หากมีการ การอุดตันของหลอดเลือดที่สมอง มักพบ แขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชา ปากเบี้ยว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ ปวดข้อเนื่องจากเก๊าซ์กําเริบได้
เข้าใจเพิ่มเติม เป็นแล้วรักษาอย่างไร พร้อมภาพประกอบสวยๆ อ่านง่าย ได้ที่นี่
โรคเกล็ดเลือดสูง ( Essential Thrombocythemia , ET)
เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเกล็ดเลือดสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดเกล็ดเลือดในไขกระดูก ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแท้จริง พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีน ชื่อ แจ็คทู (JAK 2 mutation)
อาการของโรค
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาการที่พบได้จากภาวะเส้นเลือดขนาดเล็กถูกรบกวนได้แก่ ปวดหัว การมองเห็นผิดปกติ มึน หรือเวียนหัว ปลายมือปลายเท้าเย็นเปลี่ยนเป็นสีม่วง รู้สึกแสบร้อน มีสีแดงและปวดบริเวณมือเท้า
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการเลือดออก จะพบรอยช้ำได้ง่าย เลือดกำเดาไหล หรือมีประจำเดือนออกมามาก มักเลือออกในทางเดินอาหาร หรือพบเลือดในปัสสาวะ
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่กลุ่มลิ่มเลือดอุดตัน เกิดภาวะต่อไปนี้
- เส้นเลือดสมองอุดตัน
- สมองขาดเลือด
- เส้นเลือดหัวใจอุดตัน เป็นต้น
เข้าใจเพิ่มเติม เป็นแล้วรักษาอย่างไร พร้อมภาพประกอบสวยๆ อ่านง่าย ได้ที่นี่
โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis, MF)
เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งโรคเลือด (Blood Cancers) เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือด ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ และทำให้เซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติด้วย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดพังผืดที่ไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรง จนรู้สึกเหนื่อยล้าและหมดเรี่ยวแรงอย่างหนัก นอกจากนี้ โรคพังผืดในไขกระดูกยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ จนเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายขึ้น และผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกส่วนใหญ่ มักมีปัญหาม้ามและไตโตด้วย
โรคพังผืดในไขกระดูกนี้ หากเกิดขึ้นเองจะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ (Primary Myelofibrosis) แต่หากเป็นผลมาจากโรคอื่น จะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิ (Secondary Myelofibrosis)
พบมากในคนอายุ 60-70 ปี ประมาณร้อยละ 50-60 ของผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกมีการกลายพันธุ์ของยีน ชื่อ JAK 2 mutation
อาการของโรค
โดยปกติแล้ว อาการของโรคพังผืดในไขกระดูกจะพัฒนาช้ามาก และเมื่อยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ก็มักจะไม่แสดงอาการหรือสัญญาณใด ๆ ที่สามารถสังเกตได้โดยง่ายด้วย แต่หากอาการของโรคพัฒนาขึ้น และส่งผลกระทบต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดมากขึ้น ก็มักจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง หรือหายใจไม่เต็มอิ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะภาวะโลหิตจาง
- รู้สึกปวดหรือแน่นบริเวณซี่โครงข้างซ้าย เนื่องจากม้ามโตขึ้น
- ฟกช้ำง่าย
- เลือดออกง่าย
- เหงื่อออกมากขณะนอนหลับ (เหงื่อออกตอนกลางคืน)
- มีไข้
- ปวดกระดูก หรือปวดข้อต่อ
- ผิวซีด
- ติดเชื้อบ่อย
- เลือดคั่งหรือเกิดลิ่มเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นประจำ
- มีอาการคัน
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
เข้าใจเพิ่มเติม เป็นแล้วรักษาอย่างไร พร้อมภาพประกอบสวยๆ อ่านง่าย ได้ที่นี่
5 สัญญาณเตือนว่าอาจเกิดสิ่งผิดปกติในร่างกาย
สำหรับคนที่แสดงอาการของโรค หรือสงสัยว่าตนเองมีความผิดปกติหรือไม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัยและรักษาในขั้นตอนต่อไป
แม้จะไม่ได้ตรวจเลือด แต่เมื่อเลือดมีปัญหา ร่างกายคุณจะส่งสัญญาณบอกได้
- มีอารมณ์ซึมเศร้า เหงา รู้สึกไม่สดชื่น
- ร่างกายอ่อนเพลียและรู้สึกเหนื่อยง่าย
- มักมีอาการหน้ามืด และเป็นลมบ่อยๆ
- เมื่อมีอะไรมากระแทกหรือเดินชนสิ่งของร่างกายเกิดจ้ำเลือดได้ง่าย หรือบางครั้งอาจเกิดจ้ำเลือดตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุว่ามันมาได้อย่างไร
- ร่างกายอ่อนแอ ทำให้มักติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
คู่มือผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือด MPN
Download
ในเอกสารมีเนื้อหาดังนี้
- แต่ละโรคคืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร
- อาการแสดง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย รวมถึงระยะและการเปลี่ยนแปลง
- การตรวจวินิจฉัย และการพยากรณ์โรค และวิธีรักษา
- แนวทางปฏิบัติตัว
สไลด์บรรยาย “รู้ทันมะเร็งโรคเลือดชนิดหายาก MPN 2021”
ความรู้สำหรับผู้ป่วย ผู้ดูแล และประชาชน
Download
ประเมินอาการและผลลัพธ์ของการรักษา
Download
มาเข้าใจโรค MPN เพิ่มเติมกัน
MPN in clips
รับชมวิดีโอคลิปความรู้โรค MPN แต่ละชนิด อาการที่แตกต่างกัน การตรวจวินิฉัย และแนวทางการรักษา
โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโลหิตวิทยา
อ.ดร.นพ. อาจรบ คูหาภินันท์
รับชมวิดีโอคลิปความรู้โรค MPN แต่ละชนิด
อาการที่แตกต่างกัน การตรวจวินิฉัย และแนวทางการรักษา
โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโลหิตวิทยา อ.ดร.นพ. อาจรบ คูหาภินันท์
โรคเลือดชนิดเลือดข้น (PV)
ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดจับตัวง่าย
จึงเกิดการอุดตันของเลือดบริเวณต่างๆ เช่น ปลายมือ ปลายเท้า หลอดเลือดสมอง เส้นเลือดหัวใจ อันเป็นเหตุให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้
โรคเกล็ดเลือดสูง (ET)
ร่างกายผลิตเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ สัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดเกล็ดเลือดในไขกระดูก พบว่ามีการกลายพันธ์ของยีนแจ็คทู (JAK2 mutation)
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัว มึน เวียนหัว การมองเห็นผิดปกติ ปลายมือปลายเท้าเป็นสีม่วง เป็นต้น
โรคพังผืดในไขกระดูก (MF)
มีการสร้างพังผืดในไขกระดูก ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ
เพื่อนร่วมทาง..มะเร็งโรคเลือด MPN
MPN Blood Cancer Community
Thailand Blood Cancer Supporter
ปฏิบัติการช่วยเหลือ
ผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือด
ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งโรคเลือด เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือดที่กำลังรักษา และต้องการบริจาคเลือด เกล็ดเลือด และสเต็มเซลล์
Facebook page & Website
ชมรมผู้ป่วยโรค MPN ประเทศไทย
มะเร็งโรคเลือดชนิดหายาก 3 โรคคือ โรคเลือดข้น PV โรคเกล็ดเลือดสูง ET และ โรคพังผืดในไขกระดูก MF
Facebook page & Website
MaxSmiles Thailand – กลุ่มกำลังใจแมกซ์สมายส์
ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งพบยาก
เผยแพร่ความรู้ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้กำลังใจ ภายในชมรมกันทุกเสาร์แรกของเดือน
เชิญชวนทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลนะคะ
Facebook page