มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั่วโลกและในประเทศไทย มักติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยในประเทศไทยมีอัตราการเป็นโรคอยู่ในลำดับที่ 4 หลายคนคิดว่าถ้ารักษาจนจบการรักษาแล้วจะใช้ชีวิตยากลำบาก มาดูกันว่าเป็นตามนั้นจริงไหม และรักษาได้แค่ไหน

มีผู้ป่วยจำนวนมากที่รับการรักษาแล้วสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย เพียงแค่เข้าใจตัวโรค สาเหตุ วิธีป้องกัน และปรับตัว ก็ช่วยได้มาก

ค่อยๆ เข้าใจ

ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คืออะไร

ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นท่อยาว มีผนังประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 6 ฟุต มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และยังเป็นที่เก็บกากอาหารก่อนที่จะขับถ่ายออกจากร่างกายทางทวารหนัก

ถ้าไม่ขับถ่ายออกมา น้ำจากของเสียในลำไส้ใหญ่ก็จะถูกดูดไปเรื่อยๆ ซึ่งเปรียบเสมือนดูดของเสียเข้าร่างกาย และทำให้อุจจาระแข็งขึ้น ถ่ายยากขึ้น ดังนั้นถ้าถ่ายได้ก็ถ่ายเลย สุขภาพโดยรวมจะดีกว่า

มะเร็ง คืออะไร

มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของเซลล์ที่แบ่งตัวต่อเนื่องโดยไม่สามารถควบคุมได้จนกลายเป็นก้อนขนาดใหญ่ เรียกว่า “เนื้องอกมะเร็ง”

เมื่อมะเร็งเข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองและไปปรากฎยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะเรียกว่า มะเร็งแพร่กระจาย (Metastasis)

มะเร็งลำไส้ใหญ่

เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ซึ่งชนิดที่พบบ่อยเกิดจากเซลล์เยื่อยุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติ กลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า โพลิพ (Polyp) จากนั้นติ่งเนื้อจะใช้เวลาหนึ่งในการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง

การตัดติ่งเนื้องอก (Polyp) ออก สามารถป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจลุกลามทะลุผนังลำไส้หรือแพร่กระจายต่อไปยังตับ ปอด เยื่อบุช่องท้อง สมอง หรือกระดูกได้

สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยที่เกิดจากภายใน

  • อายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยผู้มีอายุประมาณ 60 ปี จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
  • เป็นโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • มีประวัติมะเร็งในญาติสายตรง มักพบประมาณ 5% ของผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยกลุ่มมะเร็งที่พบร่วมบ่อย เช่น มะเร็งมดลูก

ปัจจัยที่เกิดจากภายนอก

  • รับประทานเนื้อแดง หรืออาหารแปรรูปเป็นประจำ เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

ป้องกันได้อย่างไร

แนวทางการดูแลตนเองที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สำหรับทุกคน คือ ออกกำลังกาย และกินดี

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกากใย
  • งดสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มแต่ปริมาณที่พอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น และอาหารปิ้งย่าง

สัญญาณเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่

มีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง ที่ทำให้ควรต้องเริ่มไปตรวจคัดกรอง ?

สังเกตได้จากอาการที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ หรือร่วมกันหลายอาการ

ขับถ่ายผิดปกติ

  • ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายอุจจาระลำบาก ปวดเบ่งบริเวณทวารหนัก
  • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน

อื่นๆ

  • ปวดท้องเรื้อรัง
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ กับริดสีดวงทวาร ถ่ายเป็นเลือดเหมือนกัน แต่อาการอื่นต่างกัน

(คลิกเพื่ออ่านเพิ่มได้เลย)

ตรวจคัดกรองอย่างไร

บุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีอาการ ควรตรวจคัดกรองเมื่อไร อย่างไรบ้าง ?

ผู้ที่ควรตรวจคัดกรอง

  • มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แม้ไม่มีอาการผิดปกติ (ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มลดเกณฑ์อายุลง เหลือประมาณ 40-45 ปี)
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัวที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ เช่น มะเร็งในมดลูก

มีวิธีตรวจคัดกรอง ตามนี้

  • ตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Stool occult blood)
  • ตรวจลำไส้ด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT colonoscopy)
  • ส่องกล้องลำไส้ใหญ่
    เป็นการส่องกล้องที่ลำไส้ส่วนปลาย หรือตลอดลำไส้ มีวิธีการส่อง 2 แบบ ได้แก่
    • Colonoscopy
    • Flexible sigmoidoscopy

รักษาอย่างไรได้บ้าง

ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งมีการพัฒนามากขึ้น สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่แม้อยู่ในระยะแพร่กระจายก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

วิธีรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ผ่าตัด

เป็นการรักษาหลักที่ทำให้หายขาดจากโรค หรือผ่าเพื่อบรรเทาอาการอุดตันของลำไส้

การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่มี 2 แบบหลักๆ คือ ผ่าตัดแบบแผลเปิด และผ่าตัดเจาะรูส่องกล้อง เพื่อเข้าไปตัดรอยโรคออก

เคมีบำบัด

เป็นการรักษาเสริม

  • หลังผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเป็นซ้ำ
  • หรือก่อนผ่าตัด เพื่อลดขนาดก้อน
  • หรือเพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยที่โรคไม่หาย

เป็นการให้ยาซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย แต่ก็ทำลายเซลล์อื่นๆ ได้ด้วย

ฉายแสง

จุดประสงค์ในการรักษาเหมือนกับวิธีเคมีบำบัด โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็ง

ใช้ยามุ่งเป้า และภูมิคุ้มกันบำบัด

ใช้เพื่อบรรเทาอาการ และชะลอการดำเนินโรค

หลักการ คือ ให้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยิ่งเป็นระยะต้น ยิ่งมีโอกาสหายขาดสูง

ทั้งนี้การรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะ ตำแหน่ง อาการ และปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในแต่ละระยะ

วิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะขึ้นอยู่กับระยะโรค โดยอาจตรวจด้วยการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ร่วมกับการส่องกล้อง และแพทย์จะวินิจฉัยสรุปผลออกมาเป็นระยะโรค ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในแต่ละระยะ

ระยะต้น (0, 1)

  • ตัวก้อนยังอยู่ภายในลำไส้
  • รักษาด้วยการผ่าตัด

ระยะลุกลามเฉพาะที่ (2, 3)

  • ก้อนเริ่มกินออกมาภายนอกลำไส้ และมีการกระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงกับบริเวณลำไส้
  • รักษาด้วยการผ่าตัด ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริม โดยอาจมีการฉายรังสีร่วมด้วยในบางราย

ระยะแพร่กระจาย (4)

  • มีการกระจายออกไปยังอวัยวะอื่นที่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด เป็นต้น
  • รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก อาจใช้ร่วมกับยามุ่งเป้า หรือให้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด โดยมีการผ่าตัดหรือฉายแสงร่วมด้วยในบางราย

ทั้งนี้ส่วนใหญ่ในระยะสุดท้ายมักจะรักษาไม่หายขาด แต่จะรักษาเพื่อบรรเทาและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ เป็นกลุ่มที่มีอัตราการหายขาดค่อนข้างสูง

เราสามารถดูแลตนเองได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และตรวจคัดกรอง หรือเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนในเวลาที่เหมาะสม เพราะการรักษาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

รับชม Live ย้อนหลัง

“เข้าใจ เรียนรู้ โรคมะเร็งลำไส้ และการใช้ชีวิตกับถุงทวารเทียม” ฉบับเต็มได้ที่นี่


ชมคลิป “Colon Emergency สัญญาณฉุกเฉินจากมะเร็งลำไส้ใหญ่”

สร้างความตระหนักรู้และเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และการใช้ถุงทวารเทียมให้แก่ประชาชน

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอดีตผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ 3 ท่าน ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เผชิญกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งส่งต่อพลังใจดีๆ ให้กับใครก็ตามที่กำลังเผชิญกับโรคนี้อีกด้วย

โครงการ “Colon Emergency สัญญาณฉุกเฉินจากมะเร็งลำไส้ใหญ่” ชมคลิปได้ที่นี่

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้

Colorectal cancer knowledge

รับมือได้ไม่ยาก กับผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด

เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการทำคีโมเป็นการรักษาเสริม ซึ่งจะทำก่อนหรือหลังผ่าตัด โดยผู้ป่วยอาจพบกับผลข้างเคียงต่างๆ และมักไม่แน่ใจว่าควรรับมืออย่างไรดี?

วันนี้ #ลำไส้ศาสตร์ ขอพาทุกคนไปรู้จัก 6 ผลข้างเคียงหลักๆ จากการทำเคมีบำบัด พร้อมกับการรับมือง่ายๆ อย่างถูกวิธีกัน

foxtitude

เมษายน 11, 2565

ทำไมผู้ป่วยมะเร็งลำไส้มักจะน้ำหนักลด

มะเร็งไม่ใช่แค่เนื้อร้ายทำลายเซลล์ แต่ยังส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
หนึ่งในอาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ “นน.ตัวลดลง”

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยนน.ตัวลดลง ?
การกินมีผลกับการรักษาอย่างไร ?

foxtitude

มีนาคม 25, 2565

วิธีผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบัน

วิธีผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่..ในปัจจุบัน
วิธีหลักในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่คือการผ่าตัด เพื่อเอาก้อนเนื้อหรือลำไส้ส่วนที่มะเร็งลุกลามออก แล้วใช้เคมีบำบัดหรือการฉายแสงร่วม การผ่าตัดมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ การผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบเจาะรูส่องกล้อง

foxtitude

มีนาคม 22, 2565

มะเร็งลำไส้ รับมือได้ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ตรวจคัดกรอง และการรักษามะเร็งลำไส้
• ป้องกันได้อย่างไร
• แนวทางการรักษา
• แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้
• เสวนาไขข้อข้องใจ Q&A

foxtitude

มีนาคม 19, 2565

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ใส่ใจป้องกันรักษาได้

นวัตกรรมในการคัดกรองและความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
· มะเร็งลำไส้ใหญ่ป้องกันได้อย่างไร
· มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาได้จริงเหรอ ?
· เสวนาไขข้อข้องใจ Q&A
· แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่

foxtitude

กุมภาพันธ์ 21, 2565

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ไวรักษาได้ก่อน

หากมีการดูแลทวารเทียมของตนอย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจนำไปสู่ ‘ภาวะแทรกซ้อน’ ต่าง ๆ ได้

#ลำไส้ศาสตร์ จึงขอมาแนะนำวิธีป้องกัน 5 ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดทวารเทียมค่ะ 🌷😙

foxtitude

มกราคม 7, 2565

อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย


สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้

“สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้”

ชวนฟัง “สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้” ที่คนไทยต้องรู้
จาก นพ.ทรงวิทย์ พายัพวัฒนวงษ์

foxtitude

พฤศจิกายน 2, 2564

3 วิธีตรวจหามะเร็งลำไส้ และอาการที่อาจพบหลังตรวจ

มะเร็งลำไส้น่ากลัวตรงที่ “ส่วนใหญ่กว่าจะตรวจเจอก็ลุกลามไปเยอะแล้ว”

ดังนั้น เมื่อพบอาการผิดปกติของระบบขับถ่าย แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจแต่เนิ่นๆ ได้

foxtitude

พฤศจิกายน 23, 2564

อาการเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และการตรวจคัดกรอง

ชวนทำความเข้าใจ “อาการเสี่ยงมะเร็งลำไส้” พร้อมคำแนะนำในการ “ตรวจคัดกรอง”

รวมถึงทำความเข้าใจระยะต่างๆ ของมะเร็งลำไส้ ตรวจได้ที่ไหน และสิทธิการรักษาเป็นอย่างไร

foxtitude

มกราคม 11, 2565

อาหารที่เหมาะกับ
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

5 อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ควรเลี่ยง

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ควรเลือกทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ไขมันน้อย แต่ให้คุณค่าทางอาหารสูง และควรได้รับอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร เช่น เนื้อปลา เนื้อไม่ติดมัน เป็นต้น

มาดูกันว่าอาหารแบบไหนที่ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ควรเลี่ยง

foxtitude

มีนาคม 14, 2565

โภชนาการและอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

เพื่อให้เข้าใจ เรียนรู้ รับมือได้ทัน กับโรคมะเร็งลำไส้ และถุงทวารเทียม รวมถึงการปรับตัวปรับใจเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสิ่งที่ต้องการให้ช่วยเหลือ

foxtitude

ธันวาคม 18, 2564

10 วิธี รับมือกับอาการเบื่ออาหาร

ทำอย่างไรหากผู้ป่วยเบื่ออาหาร ลองมาดูเทคนิคเหล่านี้กัน เพื่อให้ผู้ป่วยอยากอาหารมากขึ้น เพราะโภชนาการที่ดีจะบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้

foxtitude

ตุลาคม 27, 2564

อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย

ดูแลทวารใหม่

มีลำไส้เปิดหน้าท้อง จะอยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน

ชวนทำความเข้าใจลำไส้เปิดหน้าท้อง (ทวารใหม่/ทวารเทียม)

💩 ลักษณะอุจจาระบอกอะไร และควรปรับอย่างไร ใช้ถุงรองรับแบบไหนดี ตัดแป้นรองถุงอย่างไร ทำอย่างไรเมื่อเป็นแผล
🚿 อาบน้ำ ทำงาน ใส่เสื้อผ้า ทานอาหาร ออกกำลังอย่างไรดี
✨ ดูแลลำไส้เปิดอย่างไรในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์เสริมมีอะไรบ้าง

foxtitude

กันยายน 22, 2565

foxtitude

กันยายน 22, 2565

ถามตอบ : กินอยู่อย่างไรเมื่อมีถุงทวารเทียม

💬 วิธีรักษาแบบต่างๆ ต่างกันอย่างไร
💭 มีอาการแบบนี้ทำอย่างไรดี
✨ ดูแลทวารใหม่อย่างไร
🥗 กินอย่างไรดี
✨ สิ่งสงสัยหลังการรักษา

foxtitude

กันยายน 21, 2565

เทคนิคการใช้ชีวิตเมื่อมีถุงทวารเทียม

คุณสมบัติ ประธานชมรมมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ จะพาเราค่อยๆ เรียนรู้เรื่องทวารใหม่

🥗 กินอะไรได้บ้าง กินอย่างไรให้รู้สึกสบาย
🚿 อาบน้ำ ยกของอย่างไร ออกกำลังกายได้ไหม
✨ แนะนำอุปกรณ์เสริม เพื่อชีวิตที่สบายขึ้น

foxtitude

กันยายน 20, 2565

มีถุงทวารเทียม จะดูแลและปรับตัวอย่างไร

เมื่อคุณหมอเสนอทวารเทียม ผู้ป่วยหลายคนอาจจะรู้สึกกังวลทั้งก่อนผ่าตัด การเปลี่ยนของร่างกายหลังจากใส่ทวารเทียม รวมไปถึงมองไม่ชัดว่าจะปรับตัว ปรับใจ และใช้ชีวิตเมื่อมีถุงทวารเทียมได้อย่างไร

เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับทวารเทียมกัน รวมไปถึงแนะนำวิธีการปรับตัว ปรับใจ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

foxtitude

กันยายน 19, 2565

อาหารที่ดีต่อผู้มีทวารเทียม

ผู้ป่วยมะเร็ง ทานอะไรดี
💭 หลักสำคัญในการทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็ง
🔔 อาหารที่ควรเลี่ยง
💬 คำถามที่พบบ่อย เรื่องอาหารกับมะเร็ง
🎗 กินอย่างไรลดความเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำ

foxtitude

สิงหาคม 25, 2565

อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย

ดูแลใจ

6 วิธีดูแลจิตใจ ผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งต้องเผชิญกับอารมณ์มากมาย ทั้งความเศร้า ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัวที่จะกลับมาเป็นซ้ำ

ชวนมาเข้าใจ แล้วพาเค้าและตัวเราออกมาเห็นทางที่สว่างขึ้นกัน

foxtitude

กุมภาพันธ์ 23, 2565

ใช้ชีวิตอย่างไร
ให้ห่างจากมะเร็งลำไส้

Colorectal cancer is protectable.

ลดโอกาสเกิดเนื้องอกลำไส้ เพียงแค่คุมน้ำหนัก

ภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดเนื้องอกลำไส้ เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด และฮอร์โมนเลปตินที่ควบคุมการเติบโตของเซลล์ในลำไส้ใหญ่และความอยากอาหารทำงานผิดปกติไป จนอาจทำให้เกิดเนื้องอกลำไส้ได้

foxtitude

กุมภาพันธ์ 28, 2565

ชวนเช็ค คุณเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จากพันธุกรรมหรือไม่ ?

โดยมากจะเกิดมาจากพฤติกรรมการกินกับการใช้ชีวิต โรคประจำตัวบางโรค และสารพิษรอบตัวของผู้ป่วยเอง แต่จากการศึกษาพบว่า มีความเสี่ยง 5-10% ที่โรคนี้จะถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม

foxtitude

กุมภาพันธ์ 3, 2565

ริดสีดวงทวาร หรือ มะเร็งลำไส้ แยกอย่างไรเมื่อถ่ายเป็นเลือด

ริดสีดวงทวาร กับมะเร็งลำไส้ เป็นโรคที่มีความรุนแรงต่างกัน แต่มีอาการหนึ่งที่คล้ายกัน คือ ถ่ายเป็นเลือด 🚽

แยกเบื้องต้นได้โดย สังเกตจากลักษณะการขับถ่าย และอาการร่วม แล้วคอนเฟิร์มให้แน่ใจด้วยการตรวจยืนยันกับแพทย์ค่ะ

foxtitude

มกราคม 17, 2565

กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็งลำไส้

การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารก่อโทษ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้รวมถึงทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย เพราะอาหารที่เรากินมีผลต่อ “การขับถ่าย” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ลำไส้ใหญ่” โดยตรง

foxtitude

พฤศจิกายน 29, 2564

ทำไมคนรุ่นใหม่ เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้มากขึ้น

3 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ที่คนรุ่นใหม่ควรระวัง ❗
👉 กินเนื้อแดง-เนื้อแปรรูป
👉 โรคลำไส้อักเสบ
👉 เคลื่อนไหวร่างกายน้อย

แล้วเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างไร ชวนมาเข้าใจง่ายๆ กัน

foxtitude

พฤศจิกายน 11, 2564

อ่านเพิ่มเติม คลิกเลย

อยากรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มเติม
อ่านที่เอกสารข้างล่างนี้ได้เลย

ในเอกสารมีเนื้อหาดังนี้

  • ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • เกร็ดความรู้มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • แนวทางปฏิบัติสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และวิธีการรักษา
  • การผ่าตัด (Surgery)
  • การฉายแสง (Radiation)
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • การใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)
  • การติดตามผลการรักษา

เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้

ปรับตัวปรับใจ ชีวิตใหม่ที่มีถุงทวารเทียม

https://thaicancersociety.com/colorectal-cancer-life-with-ostomy/

รู้จักกลุ่มผู้ป่วย
มะเร็งลำไส้

รู้จักกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

Patient Group

เพื่อแลกเปลี่ยนกำลังใจ เรียนรู้วิธีการรับมือและการอยู่กับมะเร็งลำไส้

ลำไส้ศาสตร์

เพจ ลำไส้ศาสตร

อยากให้คนไทย ห่างไกลมะเร็งลำไส้!ไปกับ ‘ลำไส้ศาสตร์’

ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งลำไส้ในหลากหลายหัวข้อ

Facebook page : แนะนำ

คุณจาคี ฉายปิติศิริ

จาคี มะเร็งไดอารี่

เมื่อชีวิตต้องพบกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เข้าสู่ระยะสุดท้าย ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปทั้งไลฟ์สไตล์ และความคิด

Facebook page

โลโก้ เครือข่ายมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

บ้านทวารใหม่ ทวารเทียม

Ostomy volunteer จิตอาสา ทวารใหม่ (ทวารเทียม) เพื่อผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่มีทวารใหม่ (ทวารเทียม) ทั้งเรื่องแต่งกาย เรื่องกลิ่น เรื่องแก๊ส แป้นถุงหลุดรั่ว ฯลฯ เพื่อให้สบายใจมากขึ้นว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อมีทวารใหม่ได้อย่างไร”

Facebook page

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

ลำไส้ศาสตร์

-+=